วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ศึกษาคำว่า "การเกิดขึ้น" ให้เข้าใจก่อน.

ศึกษาคำว่า "การเกิดขึ้น" ให้เข้าใจก่อน.

เมื่อพูดถึงคำว่า ผัสสะ บางคนก็ว่าเข้าใจแล้ว เข้าใจแล้ว นี้มันแน่นอน ก็มีคนเข้าใจเรื่องผัสสะ แต่ก็เข้าใจต่างๆ กันไป เข้าใจมากบ้างน้อยบ้าง บางคนเข้าใจไปในทางเถลไถลไปในทางอื่นก็มี แล้วแต่ว่าคนๆ นั้นเขาเคยได้ยินได้ฟังคำๆ นี้มาในลักษณะอย่างไร นี่แหละคือความจำเป็นที่ต้องเอามาพูดกันใหม่ ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ ให้ดียิ่งขึ้นไป จนมองเห็นชัดลงไปทีเดียวว่ามันเป็นเพียงสิ่งเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งต้นของการเกิดของสิ่งทุกสิ่ง

เมื่อพูดถึงคำว่า เกิดขึ้น นี้ก็อย่างเดียวกันอีก บางคนก็คิดว่าเข้าใจ แต่แล้วมันก็ยังเข้าใจน้อยเกินไป คือคนส่วนมากไม่เข้าใจว่า ทุกสิ่งมีการเกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลา แม้แต่สิ่งที่เรียกกันว่าโลกนี้

เมื่อพูดคำว่า โลกนี้เกิดและดับอยู่ตลอดเวลา บางคนไม่เข้าใจเอาเสียเลยทีเดียว แล้วยังจะหาว่าเป็นคำพูดที่บ้าๆ บอๆ หรือเป็นคำพูดที่แกล้งพูดล้อกันเล่น หรือว่าเป็นการใช้สำนวนโวหารมากเกินไป นี่ถ้าผู้ใดไม่มองเห็นโดยประจักษ์ชัดว่า แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า โลก โลกนี้ มีการเกิด - ดับๆ อยู่ตลอดเวลาแล้ว คนนั้นยังไม่รู้ธรรมะ ที่เป็นชั้น ก ข ก กา ในพุทธศาสนา

พุทธศาสนาสอนให้เห็นว่า ทุกอย่างมีการ เกิด และ ดับอยู่เสมอ จะช้าเร็วเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับจิตที่มีความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ นี้คนที่เขาไม่เคยเล่าเรียน และเป็นคนที่มองกันแต่ในแง่วัตถุ ก็จะไม่เชื่อ เพราะเขามองเห็นแผ่นดินโลกนี้มีอยู่ตลอดเวลา แล้วก็เรียนกันมาว่า ไม่รู้กี่แสน ก็ล้าน กี่ล้านล้านปีมาแล้ว มันก็มีแล้วอย่างนี้ จะเรียกว่า เกิด - ดับ อย่างไร ?  นี่ทางพุทธศาสนาพูดว่ามัน เกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลา ไปตามขณะจิต ที่รู้สึกต่อสิ่งนี้

นี่ขอให้พิจารณาดู ว่ามันเป็นคนละเรื่องกันถึงขนาดนี้ เป็นคนละอย่าง คนละแนว คนละความหมาย เดี่ยวนี้เรา จะเรียนเรื่องพุทธศาสนา เราจึงต้องเรียนตามหลักของพุทธศาสนา ไม่ใช่เรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นดิน ที่จะเรียนว่า แผ่นดินนี้มันมีอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ มา เป็นเวลานานเป็นล้านๆ ปีมาแล้ว

ทำไมต้องแยกกันเรียนอย่างนี้ ? เพราะว่าเรียนอย่างโน้น มันดับความทุกข์ไม่ได้ ถ้าเรียนอย่างนี้ อย่างพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า โลกมันเกิดดับอยู่ตลอดเวลา นี้มันดับความทุกข์ได้ เมื่อเราอยากจะเรียนอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ก็เพื่อจะให้ดับทุกข์ได้นั่นเอง

คนที่เรียนเรื่องโลกมาอย่างไร ย่อมมีผลเกิดขึ้นตามสมควรแก่การที่ตนเล่าเรียนมาอย่างนั้น เช่น เรียนมาในรูปที่ว่า โลกนี้มันเที่ยง หรือเป็นรูปธรรมที่เทียงแท้ ก็มีผลให้คนๆ นั้นยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่เรียกว่าโลกนั้นๆ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า เบ็นคนติดอยู่กับโลก ติดแน่นอยู่กับโลก หมุนไปตามโลก ออกมาไม่ได้ มันก็ต้องล้มลุกคลุกกลานไปตามโลก

ทีนี้คนหนึ่งเขาเรียนมาในลักษณะที่ตรงกันข้าม ใหรู้ตามที่เป็นจริงว่า โลกนี้เบ็นอย่างไร ? มีการ เกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลาอย่างไร ? ความรู้ชนิดนี้ ไม่ทำให้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในโลก คือไม่ต้องติดไปตามโลก มีจิตใจที่แยกออกมาได้จากโลก ก็ไม่ต้องล้มลุกคลุกคลานไปตามโลก นี่มันต่างกันอย่างที่เรียกว่าตรงกันข้าม หรือยิ่งกว่าตรงกันข้าม

ถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งนั้นๆ พอ ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นๆ แล้วก็จะต้องทุลักทุเลไปตามสิ่งนั้นๆ แม้แต่สังขารร่างกายนี้ เราไปเห็นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นของตน มันก็ยึดมั่นถือมั่น แล้วมันก็จะต้องหนักอกหนักใจ ต้องขึ้นๆ ลงๆ หรือว่าส่วนใหญ่มันจะต้องมีความทุกข์ เพราะสังขารนี้มันจะต้องเปลี่ยนแปลงไป ตามเรื่องของมัน

เรื่องข้างนอกก็เหมือนกัน เรื่องทรัพย์สมบัติ เรื่องเกียรติยศชื่อเสียง เรื่องอะไรต่างๆ เหล่านี้ แม้แต่ชีวิตความตายอะไร ก็ล้วนแต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของมัน ตามเหตุตามบัจจัยของมัน ถ้าไปยึดมั่นมันเข้าให้เป็นของเที่ยง หรือเป็นของของตน มันก็เป็นไปไม่ได้ มันก็ต้องร้องไห้ มันก็ต้องหวาดเสียว ต้องสะดุ้ง ต้องเป็นไปต่างๆ นานา

นี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า มีความรู้ รู้อย่างไร มันก็จะต้องมีจิตใจไปตามอำนาจหรือตามแนวของความรู้นั้น ๆ นี้ใครจะเอาอย่างไหนก็ได้ ไม่มีใครว่า มันเป็นสิ่งที่เลือกเอาได้ แต่เชื่อว่าทุกคนคงจะเลือกเอา ในฝ่ายที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ แต่แล้วจะเลือกเป็นหรือไม่เป็น เลือกถูกหรือไม่ถูก นั้มันก็อีกอย่างหนึ่ง มันขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า คนๆ นั้นรู้จักความทุกข์หรือไม่ ? บางคนบอกว่าจะดับทุกข์ พอถามว่าเป็นทุกข์อย่างไร ? ก็ไม่รู้ โง่ถึงขนาดน้ คือ เอาความทุกข์มาให้ดูไม่ได้ แล้วก็มาขอให้ช่วยแนะวิธีดับทุกข์ มันก็คนบัา คือไม่มีความทุกข์ที่รู้สึกอยู่จริง แล้วก็มาขอให้ดับทุกข์

ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ได้ ต้องเป็นความรู้ที่รู้จริงไปตั้งแต่ตัวปัญหา ที่มันมีปัญหาอยู่จริง เช่นมีความทุกข์อยู่จริง จึงจะหาทางที่จะดับทุกข์ได้จริงเหมือนกัน ฉะนั้นการเรียนรู้เรื่องโลกในแง่ของความทุกข์นี้ เป็นความจำเป็น คือจะช่วยให้รู้จักความทุกข์ที่แท้จริง เพราะปัญหามันอยู่ที่ความทุกข์ ปัญหามันตั้งต้นขึ้นมาด้วยเรื่องของความทุกข์ ถ้าไม่มีความทุกข์เราก็ไม่มีปัญหาอะไร มองดูข้อนี้กันเสียก่อน เดี๋ยวนี้มันทนอยู่ไม่ได้ เพราะมันมีความทุกข์ และเป็นปัญหา

พอมีความทุกข์เป็นปัญหา มันก็ดูง่ายต่อไปอีกว่า มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ? ในที่สุดมันก็ไปเข้ารูปกันกับข้อที่ว่ามันมาจากสิ่งที่เรียกว่าผัสสะ จึงเรียกว่าเป็นเรื่อง ก ข ก กา คือเป็นจุดตั้งต้นของเรื่องทั้งหมดจริงๆ แต่ก็อธิบายได้หลายแง่หลายมุม เรื่อง ผัสสะ คำเดียวเท่านั้นอธิบายได้มากแง่มากมุม ซึ่งจะได้พูดกันเรื่อยๆ ไป จนกว่าจะจบจะสิ้นที่เกี่ยวกับ ก ข ก กา ของพระพุทธศาสนา

ก ข ก กา ของการศึกษาพุทธศาสนา (น.๙๐), ธรรมโฆษณ์ l พุทธทาสภิกขุ

Credit: สโมสรธรรมทาน สวนโมกข์กรุงเทพ





Previous Post
Next Post

0 comments: