วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT

10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT

๑. สพฺเพ  ตสนฺติ  ทณฺฑสฺส   สพฺเพ  ภายนฺติ  มจฺจุโน,  

    อตฺตานํ  อุปมํ  กตฺวา    น  หเนยฺย  น  ฆาตเย ฯ๑๒๙ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย เปรียบตนเองกับผู้อื่นอย่างนี้แล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble at punishment; All fear death; Comparing others with oneself, One should neither kill nor cause to kill.

๒. สพฺเพ  ตสนฺติ  ทณฺฑสฺส   สพฺเพสํ  ชีวิตํ  ปิยํ, 

    อตฺตานํ  อุปมํ  กตฺวา   น  หเนยฺย  น  ฆาตเย ฯ๑๓๐ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ สัตว์ทั้งหมดรักชีวิตของตน เปรียบตนเองกับคนอื่นอย่างนี้แล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble a punishment; To all life is dear; Comparing others with oneself, One should neither kill nor cause to kill.

๓. สุขกามานิ  ภูตานิ   โย  ทณฺเฑน  วิหึสติ, 

    อตฺตโน  สุขเมสาโน   เปจฺจ  โส  น  ลภเต  สุขํ ฯ๑๓๑ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข ผู้ที่ต้องการความสุขแก่ตน แต่เบียดเบียนสัตว์อื่น ตายไปแล้วย่อมไม่ได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness, Harms pleasure-loving beings- He gets no happiness In the world to come.

๔. สุขกามานิ  ภูตานิ   โย ทณฺเฑน น หึสติ,      

    อตฺตโน  สุขเมสาโน   เปจฺจ  โส  ลภเต  สุขํ ฯ๑๓๒ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข ผู้ที่ต้องความสุขแก่ตน ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ตายไปแล้วย่อมได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness, Harms not pleasure-loving being- He gets happiness In the world to come.

๕. มาโวจ  ผรุสํ  กญฺจิ    วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ, 

    ทุกฺขา  หิ  สารมฺภกถา   ปฏิทณฺฑา  ผุเสยฺยุ  ตํ ฯ๑๓๓ฯ

อย่ากล่าวคำหยาบแก่ใครๆ เมื่อถูกท่านด่าว่า เขาจะโต้ตอบท่าน การพูดจากร้าวร้าวกันเป็นเหตุก่อทุกข์ อาจลุกลามถึงขั้นลงมือประทุษร้ายกัน

Speak not harshly to anyone. Those thus addressed will retort. Painful, indeed, is vindictive speech. Blows in exchange may bruise you.

๖. สเจ  เนเรสิ  อตฺตานํ    กํโส  อุปหโต  ยถา,  

    เอส  ปตฺโตสิ  นิพฺพานํ   สารมฺโภ  เต  น  วิชฺชติ ฯ๑๓๔ฯ

ถ้าเธอทำตนให้เงียบเสียงได้ เหมือนฆ้องแตก ก็นับว่าเธอเข้าถึงนิพพานแล้ว เธอก็จะไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับใครอีก

If you silence yourself As a broken gong, You have already attained Nibbana. No contention will be found in you.

๗. ยถา  ทณฺเฑน  โคปาโล   คาโว  ปาเชติ  โคจรํ,  

    เอวํ  ชรา  จ  มจฺจุ  จ   อายุํ  ปาเชนฺติ  ปาณินํ ฯ๑๓๕ฯ

ความแก่และความตาย ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป เหมือนเด็กเลี้ยงโค ถือท่อนไม้ คอยไล่ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน

As with a staff the cowherd drives His cattle out to pasture-ground, So do old age and death comple The life of beings (all around).

8. อถ  ปาปานิ  กมฺมานิ   กรํ  พาโล  น  พุชฺฌติ, 

    เสหิ  กมฺเมหิ  ทุมฺเมโธ   อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ ฯ136ฯ

คนพาล เวลาทำชั่ว หาสำนึกถึงผลของมันไม่ คนทรามปัญญามีกเดือดร้อน เพราะกรรมชั่วของตัว เหมือนถูกไฟไหม้

When a fool does wicked deeds, He does not know their future fruit. The witless one is tormented by his own deeds As if being burnt by fire.

9. โย  ทณฺเฑน  อทณฺเฑสุ    อปฺปทุฎฺเฐสุ  ทุสฺสติ, 

    ทสนฺนมญฺญตรํ  ฐานํ    ขิปฺปเมว  นิคจฺฉติ ฯ137ฯ

ผู้ทำร้ายลงทัณฑ์แก่บุคคล ผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร ย่อมได้รับผลสนองสิบอย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งทันตาเห็น

He who inflicts pnishment on those Who are harmless and who offend no one Speedily comes to one of these ten states;

10. เวทนํ  ผรุสํ  ชานึ    สรีรสฺส  จ  เภทนํ,  

    ครุกํ  วาปิ  อาพาธํ    จิตฺตกฺเขปํ  ว  ปาปุเณ ฯ138ฯ

ได้รับเวทนาอย่างรุนแรง ได้รับความเสท่อมเสีย ถูกทำร้ายร่างกาย เจ็บป่วยอย่างหนัก กลายเป็นคนวิกลจริต

To grievous bodily pain, To disaster, To bodily injury, To serious illness, To loss of mind, Will he come.

11. ราชโต  วา  อุปสคฺคํ   อพฺภกฺขานํ  ว  ทารุณํ, 

    ปริกฺขยํ  ว  ญาตีนํ   โภคานํ  ว  ปภงฺคุณํ ฯ139ฯ

ต้องราชภัย ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง ไร้ญาติพี่น้อง ทรัพย์สมบัติก็พินาศฉิบหาย

To oppression by the king, to grave accusation, To loss of relatives, To destruction of wealth, (will he come).

12. อถวาสฺส  อคารานิ   อคฺคิ  ฑหติ  ปาวโก,  

    กายสฺส  เภทา  ทุปฺปญฺโญ   นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ ฯ140ฯ

หรือไม่บ้านเรือนของเขาย่อมถูกไฟไหม้ ตายไป เขาผู้ทรามก็ตกนรก

Or his house will be burnt up with fire, And that unwise one will pass to hell In the world to come.

13. น  นคฺคจริยา  น  ชฎา  น  ปงฺกา, 

    นานาสกา  ตณฺฑิลสายิกา  วา, 

    รโชชลฺลํ  อุกฺกุฎิกปฺปธานํ, 

    โสเธนฺติ  มจฺจํ  อวิติณฺณกงฺขํ ฯ141ฯ

ไม่ใช่ประพฤติตนเป็นชีเปลือย ไม่ใช่มุ่นชฏา ไม่ใช่เอาโคลนทาร่างกาย ไม่ใช่การอดอาหาร ไม่ใช่นอนบนดิน ไม่ใช่คลุกฝุ่นธุลี ไม่ใช่นั่งกระโหย่ง ที่ทำให้คนผู้ยังไม่ข้ามพ้นความสงสัย บริสุทธิ์

Not nakedness, nor matted hair, Nor dirt, nor fasting, Nor lying on the ground, Nor besmearing oneself with ashes, Nor squatting on the heels, Can purity a mortal Who has not overcome doubts.

14. อลงฺกโต  เจปิ  สมํ  จเรยฺย,  

    สนฺโต  ทนฺโต  นิยโต  พฺรหฺมจารี, 

    สพฺเพสุ  ภูเตสุ  นิธาย  ทณฺฑํ,  

    โส  พฺรามหฺมโณ  โส  สมโณ  ส  ภิกขุ ฯ142ฯ

ถึงจะแต่งกายแบบใด ๆ ก็ตาม ถ้าใจสงบระงับ ควบคุมตัวได้ มั่นคง บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบีนคนอื่น เรียกว่า พราหมณ์ สมณะ หรือ ภิกษุ

In whatever he be decked, If yet he cultivates tranquility of mind, Is calm, controlled, certain and chaste, And has ceased to injure all other beings, He is indeed, a brahmana, a samana, a bhikkhu.

15. หิรินิเสโธ  ปุริโส                   โกจิ  โลกสฺมึ  วิชฺชติ,  

    โย  นิทฺทํ  อปโพเธติ              อสฺโส  ภโทฺร  กสามิว ฯ153ฯ

ผู้หักห้ามใจไม่ทำชั่วเพราะละอายบาป หาได้น้อยนักในโลกนี้ คนเช่นนี้ย่อมปลุกตัวเองจากหลับอยู่เสมอ เหมือนม้าดี ระวังตัวเองให้พ้นแส้

Rarely is found in this world anyone Who is restrained by shame and wide-awake, As a thoroughbred horse avoids the whip.

16. อสฺโส  ยถา  ภโทฺร  กสานิวิฎฺโฐ, 

    อาตาปิโน  สํเวคิโน  ภวาถ, 

    สทฺธาย  สีเลน  จ  วีริเยน  จ, 

    สมาธินา  ธมฺมวินิจฺฉเยน  จ, 

    สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา  ปติสฺสตา,

    ปหิสฺสถ  ทุกฺขมิทํ  อนปฺปกํ ฯ144ฯ

ธรรมดาม้าดี เมื่อถูกลงแส้ครั้งหนึ่ง ย่อมสำนึก (ความผิดครั้งแรก)และพยายาม(วิ่งให้เร็ว) พวกเธอก็จงทำตนเช่นนั้น อาศัยศรัทธา, ศีล, ความเพียรมสมาธิ, การวินิจฉัยธรรม, ความสมบูรณ์ด้วย ความรู้และความประพฤติ และอาศัยสติ พวกเธอจักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย

Even as a thoroughbred horse once touched by the whip Becomes agitated and exerts himself greatly, So be strenuous and filled with religious emotion, By confidance, virtue, effort and concentration, By the investigation of the Doctrine, By being endowed with knowledge and conduct And by keeping your mind alert, Will you leave this great suffering behind.

17. อุทกํ  หิ  นยนฺติ  เนตฺติกา,          

    อุสุการา  นมยนฺติ  เตชนํ,  

    ทารุํ  นมยนฺติ  ตจฺฉกา,                 

    อตฺตานํ  ทมยนฺติ  สุพฺพตา ฯ145ฯ

ชาวนา ไขน้ำเข้านา ช่าวศร ดัดลูกศร ช่างไม้ ถากไม้ คนดี ฝึกตนเอง

Irrigators lead water; Fletchers fashion shafts; Carpenters bend wood; The good tame themselves.

ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: