วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หม้อน้ำพร่อง

หม้อน้ำพร่อง

ยทูนกํ  สณติ  ตํ,    ยํ  ปูรํ  สนฺตเมว  ตํ;
อฑฺฒกุมฺภุปโม  พาโล,    ยํ  ปูรกุมฺโภว  ปณฺฑิโต.

สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นส่งเสียงดัง  สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นแลสงบนิ่ง

คนพาลเหมือนหม้อน้ำที่พร่อง  ส่วนบัณฑิตเหมือนหม้อที่เต็ม.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๘, มหารหนีติ ๑๒๔)

ศัพท์น่ารู้ :

ยทูนกํ  ตัดบทเป็น ยํ+อูนกํ (สิ่งใด+ที่พร่อง, ที่ขาด, ที่ไม่เต็ม) ย+สิ = ยํ, อูนก+สิ = อูนกํ.

สณติ  (ทำเสียง, ส่งเสียง) √สณ+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

ตํ  (สิ่งนั้น) ต+สิ สัพพนาม

ยํ  (สิ่งใด) ย+สิ สัพพนาม

ปูรํ (เต็ม, บูรณ์) ปูร+สิ

สนฺตเมว  ตัดบทเป็น สนฺตํ (สงบ, นิ่ง) + เอว (นั่นเทียว,​ เท่านั้น)

ตํ  (สิ่งนั้น) ต+สิ สัพพนาม

อฑฺฒกุมฺภุปโม  (เปรียบเหมือนหม้อ(มีน้ำ)ครึ่งหนึ่ง) อฑฺฒ (กึ่ง, ครึ่ง) +กุมฺภ (หม้อ, ไห) +อุปม,​ อุปมา (เปรียบเทียบ,​ อุปมา) > อฑฺฒกุมฺภุปม+สิ (มหารหนีติ ทำทีฆะสระ เป็น อฑฺฒกุมฺภูปโม)

พาโล  (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ

ยํ  (สิ่งใด) ย+สิ สัพพนาม

ปูรกุมฺโภว  ตัดบทเป็น ปูรกุมฺโภ+อิว (เปรียบหมือนหม้อเต็ม) ปูร (เต็ม, แน่น) +กุมฺภ (หม้อ, ไห) > ปูรกุมฺภ+สิ = ปูรกุมฺโภ. ส่วน อิว ศัพท์เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ

ปณฺฑิโต  (บัณฑิต, คนฉลาด) ปณฺฑิต+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

น้ำ [ในหม้อ] ถ้าพร่องต้องกระฉอก ที่เต็มเปี่ยม ย่อมสงบเฉย 

คนพาลอุปมาเหมือนน้ำครึ่งหม้อ  ส่วนบัณฑิตเหมือนน้ำเต็มหม้อ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

น้ำในหม้อ ถ้าพร่องต้องกระฉอก  ที่เต็มเปี่ยมย่อมสงบเฉย

คนพาลเปรียบเสมือนน้ำครึ่งหม้อ  ส่วนบัณฑิตเปรียบเสมือนน้ำเต็มหม้อ.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


Previous Post
Next Post

0 comments: