วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

ลักษณะคนเลว

ลักษณะคนเลว

อนวฺหายํ  คมยนฺโต,   อปุจฺฉา  พหุภาสโก;
อตฺตคฺคุณํ  ปสํสนฺติ,   ติวิธํ  หีนลกฺขณํ.

เขาไม่เชื้อเชิญ ก็เข้าไปหา,   เขาไม่เอ่ยถาม ก็พูดพล่าม,

ยกย่องอวดคุณของตัวเอง,   ทั้งสามนี้ เป็นลักษณะของคนเลว.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๖, โลกนีติ ๓๑, กวิทัปปณนีติ ๙๒)

ศัพท์น่ารู้ :

อนวฺหายํ  (ในเพราะการไม่เรียกชื่อ, ไม่ออกปากเชิญ) น+อวฺหา > อนวฺหา+สฺมึ (ในสัททนีติ ธาตุมาลา ปริเฉจที่ ๑๖ กล่าวไว้ว่า วฺเห อวฺหายเน พทฺธายํ สทฺเท จ (√วฺเห ธาตุในความเรียกชื่อ, ถือหมั่น หยิ่ง, และการออกเสียง)ฯ อวฺหายนํ ปกฺโกสนํ (อวฺหายนะ คือ การร้องเรียก) ฯ พทฺธาติ อหงฺกาโร ฆฎฺฎนํ วา สารมฺภกรณํ วา (บทว่า พทฺธา คือเบ่งว่าตัวกู, หรือ การกระทบกระทั่ง, หรือ กระทำการแข่งดี) ฯ สทฺโท รโว (สัททะ คือเสียง, การออกเสียง)ฯ

คมยนฺโต  (ไปอยู่, ไปหา) คมยนฺต+สิ, (มาจาก √คมุ+ณย+อนฺต จุราทิ กัตตุวาจก. มี อา อุปสัคเป็นบทหน้า แปลว่า รอคอยอยู่, ยังกาลให้ผ่านไปหน่อยหนึ่ง มีรูปเป็น อาคมยนฺโต เป็นต้น.

อปุจฺฉา  (ไม่ถูกถาม) น+ปุจฺฉา > อปุจฺฉา (ศัพท์นี้ยังมองไม่ออกว่าควรทำตัวสำเร็จรูปอย่างไรดี ขอฝากไว้ก่อน)

พหุภาสโก  (คนพูดมาก) พหุ (มาก, หลาย) +ภาสก (คนพูด,​ ผู้กล่าว) > พหุภาสก+สิ

อตฺตคฺคุณํ  (คุณของตน) อตฺต (ตน,​ ตัวเอง) +คุณ (คุณ, ความดี) > อตฺตคฺคุณ+อํ

ปสํสนฺติ  (ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย) ป+√สํส+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ติวิธํ  (๓ อย่าง, ๓ ประเภท) ติวิธ+สิ

หีนลกฺขณํ  ลักษณะคนเลว, -คนต่ำช้า, หีนบุคคล) หีน (เลว, ต่ำ​ช้า, ถ่อย) +ลกฺขณ (ลักษณะ, เครื่องหมาย, ที่ให้จดจำ) หีนลกฺขณ+สิ

ส่วนใน กวิทัปปณนีติ คาถา ๙๒ มีเพียงบาทคาถาสุดที่แตกต่างกัน ดังนี้

อนวฺหายํ  คมยนฺโต,   อปุจฺฉา  พหุภาสโก;

อตฺตคุณํ  ปกาสนฺโต,   ติวิโธ  หีนปุคฺคโล.

เขาไม่เชื้อเชิญ ก็เข้าไปหา,  เขาไม่เอ่ยถามำ ก็พูดพล่าม,

ชอบประกาศคุณของตนเอง,  สามอย่างนี้ เรียกว่า คนถ่อย.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ไม่เชื้อเชิญก็เข้าไปหา  ไม่ทันออกวาจาถามก็พูดมาก

ยกย่องคุณของตน  สามนี้เป็นลักษณะของคนเลว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เขาไม่เชื้อเชิญเข้าไปหา  ไม่ทันออกปากถามก็พูดมาก

ยกตัวเองอวดเขา  สามอย่างนี้ก็เป็นลักษณะของคนเลว.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


Previous Post
Next Post

0 comments: