วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันออกพรรษา-Day of going out of Vassa

วันออกพรรษา - Day of going out of Vassa

หลังจากที่พระภิกษุได้อธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ หรือ ณ วัดใดวัดหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ที่เราเรียกว่า “วันเข้าพรรษา” แล้ว เมื่อครบกำหนดการจำพรรษา พระภิกษุก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ . . .

วันพ้นข้อกำหนดดังกล่าว ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ที่เรียกกันว่า “วันออกพรรษา” โดยในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ตรงกับ  / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา“วันออกพรรษา” มีความหมาย และมีเรื่องใดที่เกี่ยวข้องบ้าง เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ

1. วันออกพรรษา อันหมายถึง วันสิ้นสุดการจำพรรษา ของภิกษุครบ 3 เดือนในฤดูฝน เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา (อ่านว่า ปะ-วา-ระ-นา) หรือ วันมหาปวารณา คือ วันที่เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยเมตตาจิต เมื่อได้เห็น ได้ฟังหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

2. ความเป็นมาของการทำปวารณากรรม สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล พุทธสาวกจะมีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อออกพรรษาหมดฤดูฝน จะพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็จะทรงตรัสถามถึงสิ่งที่พระภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติในระหว่างจำพรรษา ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งเกรงว่าในช่วงจำพรรษาด้วยกัน จะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาท จนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกากันเองว่าจะไม่พูดจากัน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ ก็ทรงตำหนิว่าการประพฤติดังกล่าวเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จึงทรงวางระเบียบวินัยให้เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อมาว่า ให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว ทำปวารณาแทนการสวดพระปาติโมกข์ในวันออกพรรษา
     
การปวารณาหรือการว่ากล่าวตักเตือนในหมู่สงฆ์นี้ ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องทำด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตักเตือนทั้งกาย วาจา และใจ ส่วนผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ถ้าเป็นจริงตามคำกล่าวก็ปรับปรุงตัวใหม่ หากไม่จริงก็สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้กระจ่าง ทั้งสองฝ่ายต้องคิดว่าทักท้วงเพื่อก่อ ฟังเพื่อแก้ไข จึงจะได้ประโยชน์และตรงกับความมุ่งหมายของการปวารณาที่จะสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ 

 3. การสวดพระปาติโมกข์ คือ การที่พระสงฆ์สวดสิกขาบท (พระวินัย) 227 ข้อทุกกึ่งเดือน ในที่ประชุมสงฆ์ เรียกอีกอย่างว่า ลงอุโบสถกรรม (สวดปาติโมกข์ ในที่นี้ มิใช่โอวาทปาติโมกข์ อันเป็นการประกาศหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้าเมื่อวันมาฆาบูชา)
       
4. หลักการปวารณาในวันออกพรรษา เป็นหลักที่พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ทั้งในครอบครัว สถานศึกษาหรือในสถานที่ทำงานโดยยึดความเมตตาต่อกันเป็นที่ตั้ง คือ ถ้าจะติก็ติด้วยความหวังดีมิใช่ทำลายอีกฝ่าย ส่วนผู้ถูกติก็ควรรับฟังด้วยดีและมองเห็นความหวังดีของผู้ว่ากล่าว หากจริงก็แก้ไข ไม่จริงก็ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่นนี้ย่อมทำให้สังคมเกิดความสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาและพร้อมจะพัฒนาไปด้วยกันทุกฝ่าย
       

5. ประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา ได้แก่ ประเพณีตักบาตรเทโว ซึ่งย่อมาจาก "เทโวโรหนะ" หมายถึง การเสด็จลงมาจากเทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นต่างๆ ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้ 7 วัน จึงทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา 

ดังนั้น จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฏกโปรดพระพุทธมารดาและเทวดาทั้งหลายอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หรือหลังวันออกพรรษา 1 วัน พระองค์เจ้าจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชนต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนื่องแน่น ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ และทำสืบต่อมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า "ตักบาตรเทโว" มาจนทุกวันนี้

6. วันตักบาตรเทโว เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” ด้วยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์หลังวันออกพรรรษานั้น เล่ากันว่ามีเทวดาจำนวนมากได้ตามส่งเสด็จอย่างสมพระเกียรติ พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกมองเห็นกันและกันตลอดทั้ง 3 โลก คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก อีกทั้งในวันนี้การลงโทษในเมืองนรกได้ยุติลงชั่วคราว จึงเรียกว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” 

7. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หมายถึง สวรรค์ชั้นที่ 2 แห่งสวรรค์ 6 ชั้น ซึ่งมี ท้าวสักกะ หรือ พระอินทร์ เป็นจอมเทพผู้ปกครอง สวรรค์ 6 ชั้นดังกล่าว เรียกว่า “กามภพ” หมายถึง ภพที่ท่องเที่ยวไปในกาม แบ่งออกเป็น ชั้นจาตุมหาราช เป็นที่อยู่ของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ชั้นดาวดึงส์ เป็นเมืองของพระอินทร์ ชั้นยามา เป็นเมืองของสยามเทวราช ชั้นดุสิต (ดุสิต แปลว่า บันเทิง) มี สันดุสิตเทวราช เป็นผู้เป็นใหญ่ ชั้นนิมมานนรดี(นิม-มาน-นอ-ระ-ดี) หมายถึง ผู้ยินดีในการเนรมิต และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ปอ-ระ-นิม-มิด-ตะ-วะ-สะ-วัด-ดี) มีพระยามาราธิราช เป็นใหญ่
              
8. ของทำบุญที่นิยมกันเป็นพิเศษในประเพณีตักบาตรเทโวฯ คือ ข้าวต้มลูกโยน โดยจะเอาข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาว กล่าวกันว่าที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนคงเป็นเพราะ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลก พระบรมศาสดาถูกห้อมล้อมด้วยมนุษย์และเทวดาจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่เข้าไม่ถึง คิดวิธีใส่บาตรโดยโยนเข้าไป และที่ไว้หางยาวก็เพื่อให้โยนได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการโยนลักษณะนี้คงเกิดขึ้นภายหลัง มิใช่สมัยพระพุทธองค์จริงๆ และทำให้เป็นนัยยะมากกว่า เพราะปัจจุบันจะใช้การแห่พระพุทธรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า สำหรับปีนี้ "วันตักบาตรเทโว" ตรงกับวันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2560 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา

9. หลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นช่วงเทศกาลกฐิน กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
       
10.แนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในวันออกพรรษา นอกจากหลักปวารณาที่ได้กล่าวไปแล้ว ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษา ควรจะได้ร่วมกันปฏิบัติธรรม และจัดพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ สนทนาธรรม และเจริญภาวนาเพื่อเป็นการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ แจ่มใส อันจะเป็นมงคลในการดำเนินชีวิตต่อไป
       
ข้อมูล:กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ที่มา : manager
____

The significance of Vesak Full Moon Day , Māgha Pūjā Day , Pavāranā day , Happy Vesak Day. ,  วันวิสาขบูชา  , วันวิสาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญวิสาขะ  , วันอาสาฬหบูชา , วันอาสาฬหบูชา ประวัติและความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา , สาระสำคัญของวันมาฆบูชา , วันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา , 'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ , วันออกพรรษา-Day of going out of Vassa , วันเข้าพรรษา-Buddhist Lent Day Observances , วันอาสาฬหบูชา , วันนี้วันพระ“วันอัฏฐมีบูชา” , วันอัฏฐมีบูชา , วันมหาปวารณา , ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า , วิสาขบูชานุสติ , พระพุทธเจ้า“ประกาศอิสรภาพ”ให้แก่มวลมนุษย์ , ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสอะไรไว้กับชาวโลกบ้าง , เมื่อคืนพระจันทร์สวย ในวันวิสาขบูชา : พิจารณาธรรมชาติ , กฐิน

















The Law Of Karma

The Law Of Karma

We have come to a couple of related ideas which are common in Buddhism and they are the ideas of karma and rebirth. These ideas are closely inter-related, but because the subject is a fairly wide one, we will begin to deal with the idea of karma todayand rebirth in another lecture.

We know that what binds us in samsara are the defilements — desire, ill-will and ignorance. We spoke about this when we talked about the Second Noble Truth — the truth of the cause of suffering. These defilements are something which every living being in samsara shares, whether we speak of human beings or animals or beings who live in the other realms which we do not normally perceive. In this, all living beings are alike and yet amongst all the living beings that we can normally perceive, there are many differences. For instance, some of us are wealthy, some are less wealthy, some are strong and healthy, others are disabled and so forth. There are many differences amongst living beings and even more so there are differences between animals and human beings. These differences are due to karma.

What we all share - desire, ill-will and ignorance - are common to all living beings, but the particular condition in which we find ourselves is the result of our particular karma that conditions the situation in which we find ourselves, the situation in which we may be wealthy, strong and so forth. These circumstances are decided by karma. It is in this sense that karma explains the differences amongst living beings. It explains why some beings are fortunate while others are less fortunate, some are happy while others are less happy. The Buddha has specifically stated that karma explains the differences between living beings. You might also recall that the understanding of how karma affects the birth of living beings in happy or unhappy circumstances — the knowledge of how living beings move from happy circumstances to unhappy circumstances, and vice versa, from unhappy to happy circumstances as a result of their karma - was part of the Buddha’s experience on the night of His enlightenment. It is karma that explains the circumstances that living beings find themselves in.

Having said this much about the function of karma, let us look more closely at what karma is. Let us define karma. Maybe we can define karma best by first deciding what karma is not. It is quite often the case that we find people misunderstanding the idea of karma. This is particularly true in our daily casual use of the term. We find people saying that one cannot change one’s situation because of one’s karma. In this sense, karma becomes a sort of escape. It becomes similar to predestination or fatalism. This is emphatically not the correct understanding of karma. It is possible that this misunderstanding of karma has come about because of the popular idea that we have about luck and fate. It may be for this reason that our idea of karma has become overlaid in popular thought with the notion of predestination. Karma is not fate or predestination.

If karma is not fate or predestination, then what is it? Let us look at the term itself. Karma means action, means "to do". Immediately we have an indication that the real meaning of karma is not fate because karma is action. It is dynamic. But it is more than simply action because it is not mechanical action. It is not unconscious or involuntary action. It is intentional, conscious, deliberate, willful action. How is it that this intentional, will action conditions or determines our situation? It is because every action must have a reaction, an effect. This truth has been expressed in regard to the physical universe by the great physicist Newton who formulated the law which states that every action must have an equal and opposite reaction. In the moral sphere of conscious actions, we have a counterpart to the physical law of action and reaction, the law that every intentional, will action must have its effect. This is why we sometimes speak either of Karma-Vipaka, intentional action and its ripened effect, or we speak of Karma-Phala, intentional action and its fruit. It is when we speak of intentional action together with its effect or fruit that we speak of the Law of Karma.

In its most basic sense, the Law of Karma in the moral sphere teaches that similar actions will lead to similar results. Let us take an example. If we plant a mango seed, the plant that springs up will be a mango tree, and eventually it will bear a mango fruit. Alternatively, if we plant a Pong Pong seed, the tree that will spring up will be a Pong Pong tree and the fruit a Pong Pong. As one sows, so shall one reap. According to one’s action, so shall be the fruit. Similarly, in the Law of Karma, if we do a wholesome action, eventually we will get a wholesome fruit, and if we do an unwholesome action eventually we will get an unwholesome, painful result. This is what we mean when we say that causes bring about effects that are similar to the causes. This we will see very clearly when we come to specific examples of wholesome and unwholesome actions.

We can understand by means of this general introduction that karma can be of two varieties - wholesome karma or good karma and unwholesome karma or bad karma. In order that we should not misunderstand this description of karma, it is useful for us to look at the original term. In this case, it is kushala or akushala karma, karma that is wholesome or unwholesome. In order that we understand how these terms are being used, it is important that we know the real meaning of kushala and akushala. Kushala means intelligent or skilful, whereas akushala means not intelligent, not skilful. This helps us to understand how these terms are being used, not in terms of good and evil but in terms of skilful and unskilful, in terms of intelligent and unintelligent, in terms of wholesome and unwholesome. Now how wholesome and how unwholesome? Wholesome in the sense that those actions which are beneficial to oneself and others, those actions that spring not out of desire, ill-will and ignorance, but out of renunciation, loving-kindness and compassion, and wisdom.

One may ask how does one know whether an action that is wholesome or unwholesome will produce happiness or unhappiness. The answer is time will tell. The Buddha Himself answered the question. He has explained that so long as an unwholesome action does not bear its fruit of suffering, for so long a foolish person will consider that action good. But when that unwholesome action bears its fruit of suffering then he will realize that the action is unwholesome. Similarly, so long as a wholesome action does not bear its fruit of happiness, a good person may consider that action unwholesome. When it bears its fruit of happiness, then he will realize that the action is good. So one needs to judge wholesome and unwholesome action from the point of view of long-term effect. Very simply, wholesome actions result in eventual happiness for oneself and others, while unwholesome actions have the opposite result, they result in suffering for oneself and others.

Specifically, the unwholesome actions which are to be avoided relate to the three doors or means of action, and these are body, speech and mind. There are three unwholesome actions of the body, four of speech and three of mind that are to be avoided. The three unwholesome actions of body that are to be avoided are killing, stealing and sexual misconduct. The four unwholesome actions of speech that are to be avoided are lying, slander, harsh speech and malicious gossip. The three unwholesome actions of mind that are to be avoided are greed, anger and delusion. By avoiding these ten unwholesome actions we will avoid their consequences. The unwholesome actions have suffering as their fruit. The fruit of these unwholesome actions can take various forms. The fully ripened fruit of the unwholesome actions consists of rebirth in the lower realms, in the realms of suffering — hell, hungry ghosts and animals. If these unwholesome actions are not sufficient to result in rebirth in these lower realms, they will result in unhappiness in this life as a human being. Here we can see at work the principle of a cause resulting in a similar effect. For example, habitual killing which is motivated by ill-will and anger and which results in the taking of the life of other beings will result in rebirth in the hells where one’s experience is saturated by anger and ill-will and where one may be repeatedly killed. If killing is not sufficiently habitual or weighty to result in rebirth in the hells, killing will result in shortened life as a human being, separation from loved ones, fear or paranoia. Here too we can see how the effect is similar to the cause. Killing shortens the life of others, deprives others of their loved ones and so forth, and so if we kill we will be liable to experience these effects. Similarly, stealing which is borne of the defilement of desire may lead to rebirth as a hungry ghost where one is totally destitute of desired objects. If it does not result in rebirth as a ghost, it will result in poverty, dependence upon others for one’s livelihood and so forth. Sexual misconduct results in martial distress or unhappy marriages.

While unwholesome actions produce unwholesome results - suffering, wholesome actions produce wholesome results - happiness. One can interpret wholesome actions in two ways. One can simply regard wholesome actions as avoiding the unwholesome actions, avoiding killing, stealing, sexual misconduct and the rest. Or one can speak of wholesome actions in positive terms. Here one can refer to the list of wholesome actions that includes generosity, good conduct, meditation, reverence, service, transference of merits, rejoicing in the merit of others, hearing the Dharma, teaching the Dharma and straightening of one’s own views. Just as unwholesome actions produce suffering, these wholesome actions produce benefits. Again effects here are similar to the actions. For example, generosity results in wealth. Hearing of the Dharma results in wisdom. The wholesome actions have as their consequences similar wholesome effects just as unwholesome actions have similar unwholesome effects.

Karma, be it wholesome or unwholesome, is modified by the conditions under which the actions are performed. In other words, a wholesome or unwholesome action may be more or less strong depending upon the conditions under which it is done. The conditions which determine the weight or strength of karma may be divided into those which refer to the subject — the doer of the action — and those which refer to the object — the being to whom the action is done. So the conditions that determine the weight of karma apply to the subject and object of the action. Specifically, if we take the example of killing, in order for the act of killing to have its complete and unmitigated power, five conditions must be present — a living being, the awareness of the existence of a living being, the intention to kill the living being, the effort or action of killing the living being, and the consequent death of the living being. Here too, we can see the subjective and the objective conditions. The subjective conditions are the awareness of the living being, the intention to kill and the action of killing. The objective conditions are the presence of the living being and the consequent death of the living being.

Similarly, there are five conditions that modify the weight of karma and they are persistent, repeated action; action done with great intention and determination; action done without regret; action done towards those who possess extraordinary qualities; and action done towards those who have benefited one in the past. Here too there are subjective and objective conditions. The subjective conditions are persistent action; action done with intention; and action done without regret. If one does an unwholesome action again and again with great intention and without regret, the weight of the action will be enhanced. The objective conditions are the quality of the object to whom actions are done and the nature of the relationship. In other words, if one does a wholesome or unwholesome action towards living beings who possess extraordinary qualities such as the arhats, or the Buddha, the wholesome or unwholesome action done will have greater weight. Finally the power of wholesome or unwholesome action done towards those who have benefited one in the past, such as one’s parents, teachers and friends, will be greater.

The objective and subjective conditions together determine the weight of karma. This is important because understanding this will help us to understand that karma is not simply a matter of black and white, or good and bad. Karma is moral action and moral responsibility. But the working of the Law of Karma is very finely tuned and balanced so as to match effect with cause, so as to take into account the subjective and objective conditions that determine the nature of an action. This ensures that the effects of actions are equal to and similar to the nature of the causes.

The effects of karma may be evident either in the short term or in the long term. Traditionally we divide karma into three varieties related to the amount of time that is required for the effects of these actions to manifest themselves. Karma can either manifest its effects in this very life or in the next life or only after several lives. When karma manifests its effects in this life, we can see the fruit of karma within a relatively short length of time. This variety of karma is easily verifiable by any of us. For instance, when someone refuses to study, when someone indulges in harmful distractions like alcohol and drugs, when someone begins to steal to support his harmful habits; the effects will be evident within a short time. They will be evident in loss of livelihood and friendship, health and so forth. We cannot see the long-term effect of karma, but the Buddha and His prominent disciples who have developed their minds are able to perceive directly the long-term effects. For instance, when Maudgalyayana was beaten to death by bandits, the Buddha was able to tell that this event was the effect of something Maudgalyayana had done in a previous life when he had taken his aged parents to the forest and having beaten them to death, had then reported that they had been killed by bandits. The effect of this unwholesome action done many lives before was manifested only in his last life. At death we have to leave everything behind — our property and our loved ones, but our karma will accompany us like a shadow. The Buddha has said that nowhere on earth or in heaven can one escape one’s karma. So when the conditions are correct, dependent upon mind and body, the effects of karma will manifest themselves just as dependent on certain conditions a mango will appear on a mango tree. We can see that even in the world of nature certain effects take longer to appear than others. If for instance, we plant the seed of a papaya, we will obtain the fruit in shorter period than if we plant the seed of a durian. Similarly, the effects of karma manifest either in the short term or in the long term.

Besides the two varieties of karma, wholesome and unwholesome karma, we should mention neutral or ineffective karma. Neutral karma is karma that has no moral consequence either because the very nature of the action is such as to have no moral consequence or because it is done involuntarily and unintentionally. For example, sleeping, walking, breathing, eating, handicraft and so forth in themselves have no moral consequence. Similarly, unintentional action is ineffective karma. In other words, if one accidentally steps on an insect, being unconscious of its existence, this also constitutes neutral karma because there is no intention - the intentional element is not there.

The benefits of understanding the Law of Karma are that this understanding discourages one from performing unwholesome actions which have suffering as their fruit. Once we understand that in our own life every action will have a similar and equal reaction, once we understand that we will experience the effect of that action, wholesome or unwholesome, we will refrain from unwholesome behavior, not wanting to experience the effects of these unwholesome actions. And similarly, understanding that wholesome actions have happiness as their fruit, we will cultivate these wholesome actions. Reflecting on the Law of Karma, of action and reaction in the moral sphere encourages us to renounce unwholesome actions and cultivate wholesome actions. We will look more closely at the specific effects of karma in future lives and how karma conditions and determines the nature of rebirth in our lecture next week.

Extract from "Fundamentals of Buddhism", by Dr. Peter Della Santina.

Source :  buddhanet




______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom


วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

๒๒ หริตจชาดก เรื่อง ดาบสฌานเสื่อม

๒๒ หริตจชาดก เรื่อง ดาบสฌานเสื่อม 


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึกเพระเห็นสาวงามรูปหนึ่งจึงตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน มีแต่จะให้ตกนรก กิเลสทำให้เธอลำบากเหมือนลมพัดภูเขา ทำให้ใบไม้เก่า ๆ กระจัดกระจายได้ โบราณบัณฑิตได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ แล้ว ยังเสื่อมจากฌานได้ด้วยอำนาจกิเลส" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานสาธกว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์มั่งคั่งตระกูลหนึ่งมีนามว่า หาริตกุมาร เมื่อเติบโตแล้วได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา อยู่ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้วมีความคิดว่า

 "ทรัพย์เท่านั้นตั้งอยู่ได้ ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดหาตั้งอยู่ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนเล่า"

กลัวต่อความตายได้ให้ทานเป็นการใหญ่แล้วเข้าป่าไปบวชเป็นดาบส มีเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร บำเพ็ญเพียรเป็นเวลานานหลายปี จนได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ จึงลงจากเขามาเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ในสวนหลวงเป็นเวลา ๑๒ ปี ตลอดเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สวนหลวง ทุกเช้าดาบสจะไปรับอาหารในพระราชวังเป็นประจำ

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปปราบกบฎชายแดน จึงมอบหน้าที่ถวายอาหารให้พระเทวีทรงแต่งโภชนาไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อดาบสยังช้าอยู่ จึงสนานด้วยน้ำหอมแล้วทรงพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียดรับสั่งให้เผยสีหบัญชร (หน้าต่าง ) ประทับอยู่บนเตียงให้ลมพัดพระวรกายอยู่

ฝ่ายดาบสได้เหาะมาทางอากาศผ่านมาทางสีหบัญชรพอดี พระเทวีได้ยินเสียงเปลือกไม้กระทบกันก็ทราบว่าดาบสมาถึงแล้ว จึงรีบลุกขึ้น ขณะนั้นเองพระภูษาได้เลื่อนหลุดหล่นลง ทำให้ร่างกายของนางถูกดาบสเห็นทั้งหมด เป็นเหตุให้กิเลสของดาบสกำเริบขึ้น ทำให้ฌานเสื่อมทันที ดาบสไม่สามารถควบคุมสติไว้ได้จึงเข้าไปจับพระหัตถ์ของพระนางแล้วคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกัน ดาบสหลังจากรับอาหารแล้วก็เดินกลับสวนหลวงไปตั้งแต่วันนั้นมาคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกันทุกวัน

ข่าวที่ดาบสเสพโลกธรรมกับพระเทวีได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ก็ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชา พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เมื่อปราบกบฎเสร็จแล้วพระราชาก็เสด็จกลับเมือง เข้าไปห้องพระเทวีสอบถามความเป็นจริง พระเทวีทูลว่าจริง พระองค์ก็ยังไม่ทรงเชื่อจึงเสด็จไปหาดาบสตรัสถามความจริง

ดาบสคิดว่า "ถ้าเราบอกว่าไม่เป็นความจริงพระราชาก็ทรงเชื่อ แต่ที่พึ่งที่ดีที่สุดคือคำสัตย์" จึงทูลว่า "ขอถวายพระพรพระองค์ได้สดับมานั้นเป็นความจริง อาตมาหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์แห่งความหลงผิดเสียแล้วละ" พระราชาสดับแล้วตรัสว่า "ปัญญาที่ละเอียดคิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบรรเทาราคะของท่านมีไว้เพื่อประโยชน์ อะไร ท่านไม่อาจใช้ปัญญาบรรเทาความคิดที่แปลกได้หรือ"

ดาบส "มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างคือราคะ โทสะ โมหะ และมทะ เป็นของที่มีกำลังกล้า หยาบคายในโลก ยากที่ปัญญาจะหยั่งถึงได้"

พระราชา "โยมได้ยกย่องท่านเป็นพระอรหันต์ มีศีลเป็นบัณฑิต เบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญาโดยแท้"
พระราชาพูดกระตุ้นดาบสว่า "ความกำหนัดเกิดในกายทำลายผิวพรรณของท่าน ท่านจงพยายามทำลายความกำหนัดของท่านนั้นเสียเถิด"

ดาบสได้สติกลับคืนมาแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า​ "กาลเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมาจักค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้นจักตัดความกำหนัดพร้อมเครื่องผูกเสีย" ว่าแล้วก็ขอโอกาสปฏิบัติธรรมในบรรณศาลาพิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นได้แล้ว เหาะขึ้นสู่อากาศแสดงธรรมแก่พระราชาแล้วขออำลากลับเข้าป่าตามเดิม

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อำนาจของกิเลสตัณหาทำให้คนหน้ามืดไม่มีสติ

ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)


แหล่งที่มา : dhammathai

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

๑. เตมีย์ชาดก-( พระเตมีย์ใบ้ )

๑. เตมีย์ชาดก-( พระเตมีย์ใบ้ )

พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า 

"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด"

ด้วยอานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มีรูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนามโอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระราชาธิราชของมหาทวีปทั้งสี่ พระราชาทรงยินดี เป็นอย่างยิ่ง และทรงเลือกแม่นมที่มีลักษณะดีเลิศตามตำรา จำนวน 64 คน เป็นผู้ปรนนิบัติเลี้ยงดูพระเตมีย์กุมาร

วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตักขณะที่กำลังพิพากษาโทษผู้ร้าย 4 คน พระราชาตรัสสั่งให้เอาหวาย ที่มีหนามแหลมคมมาเฆี่ยนผู้ร้ายคนหนึ่ง แล้วส่งไปขังคุกให้เอาฉมวกแทงศีรษะผู้ร้ายคนที่สาม และให้ใช้หลาว เสียบผู้ร้ายคนสุดท้าย พระเตมีย์ซึ่งอยู่บนตักพระบิดาได้ยินคำพิพากษาดังนั้น ก็มีความตกใจหวาดกลัว ทรงคิดว่า

"ถ้าเราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเราตายไป ก็จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"

เนื่องจากพระเตมีย์เป็นผู้มีบุญจึงรำลึกชาติได้และทรงทราบว่าในชาติก่อนได้เคยเป็นพระราชาครองเมืองและได้ตัดสินโทษ ผู้ร้ายอย่างเดียวกันนี้ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์จึงต้องตกนรกอยู่ถึง 7,000 ปี ได้รับความทุกข์ทรมาณเป็นอันมาก พระเตมีย์ทรงมีความหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทรงรำพึงว่า 

"ทำอย่างไร หนอ เราจึงจะไม่ต้องทำบาป และไม่ต้องตกนรกอีก"

ขณะนั้นเทพธิดาที่รักษาเศวตฉัตรได้ยินคำรำพึงของพระเตมีย์จึงปรากฏกายให้พระองค์เห็นและแนะนำพระเตมีย์ว่า

"หากพระองค์ทรงหวั่นที่จะกระทำบาป ทรงหวั่นเกรงว่าจะตกนรก ก็จงทำเป็น หูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ย อย่าให้ชนทั้งหลาย รู้ว่าพระองค์เป็นคนฉลาด เป็นคนมีบุญ พระองค์ จะต้องมีความอดทน ไม่ว่าจะได้รับความเดือดร้อนอย่างใดก็ต้องแข็งพระทัย ต้องทรงต่อสู้ กับพระทัย ตนเองให้จงได้ อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาชักจูงใจ พระองค์ไปจากหนทางที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้"

พระเตมีย์กุมารได้ยินเทพธิดาว่าดังนั้นก็ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งจึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า

"ต่อไปนี้ เราจะทำตนเป็นคนใบ้ หูหนวก และง่อยเปลี้ย ไม่ว่าจะมีเรื่องอันใดเกิดขึ้น เราก็จะไม่ละความตั้งใจเป็นอันขาด" 

นับแต่นั้นมา พระเตมีย์ก็ทำพระองค์เป็นคนหูหนวกเป็นใบ้ และเป็นง่อย ไม่ร้อง ไม่พูด ไม่หัวเราะ และไม่เคลื่อนไหว ร่างกายเลย พระราชาและพระมเหสีทรงมีความวิตกกังวลในอาการของพระโอรส ตรัสสั่งให้พี่เลี้ยงและแม่นมทดลอง ด้วยอุบายต่างๆ เช่น ให้อดนม พระเตมีย์ก็ทรงอดทน ไม่ร้องไห้ ไม่แสดงความหิวโหย ครั้นพระราชาให้พี่เลี้ยง เอาขนมล่อ พระเตมีย์ก็ไม่สนพระทัย นิ่งเฉยตลอดเวลา พระราชาทรงมีความหวังว่า พระโอรสคงไม่ได้หูหนวก เป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยจริง จึงโปรดให้ทดลอง ด้วยวิธีต่างๆ เป็นลำดับ เมื่ออายุ 2 ขวบ เอาผลไม้มาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 4 ขวบ เอาของเสวยรสอร่อยมาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 5 ขวบ พระราชาให้เอาไฟมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่แสดงความ ตกใจกลัว อายุ 6 ขวบ เอาช้างมาขู่ อายุ 7 ขวบ เอางูมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่หวาดกลัว ไม่ถอยหนีเหมือนเด็กอื่นๆ พระราชาทรงทดลองด้วยวิธีการต่างๆเรื่อยมา จนพระเตมีย์ อายุได้ 16 พรรษา ก็ไม่ได้ผล พระเตมีย์ยังทรงทำเป็นหูหนวก ทำเป็นใบ้ และไม่เคลื่อนไหวเลย ตลอดเวลา 16 ปี

ในที่สุด พระราชาก็ให้หาบรรดาพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลายมาและตรัสถามว่า

"พวกเจ้าเคยทำนายว่า ลูกเราจะเป็น ผู้มีบุญ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อลูกเรามีอาการเหมือนคน หูหนวก เป็นใบ้ และเป็น ง่อยเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรดี" 

พราหมณ์และที่ปรึกษาพากันกราบทูลว่า

"เมื่อตอนที่ประสูตินั้นพระโอรส มีลักษณะเป็นผู้มีบุญ แต่บัดนี้ เมื่อได้กลับกลายเป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย ก็กลายเป็นกาลกิณีจะ ทำให้บ้านเมืองและประชาชนเดือดร้อน ขอให้พระองค์สั่งให้นำพระโอรสไปฝังที่ป่าช้าเถิดพะย่ะค่ะ จะได้สิ้นอันตราย"

พระราชาได้ยินดังนั้นก็ทรงเศร้าพระทัยด้วยความรักพระโอรส แต่ก็ไม่อาจแก้ไขอย่างไรได้เพราะเป็นห่วงบ้านเมืองและ ประชาชน จึงต้องทรงทำตามคำกราบของพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลาย พระนางจันทเทวีทรงทราบว่าพระราชาให้นำ พระโอรสไปฝังที่ป่าช้าก็ทรงร้องไห้คร่ำครวญว่า 

"พ่อเตมีย์ลูกรัก ของแม่ แม่รู้ว่าลูกไม่ใช่คนง่อยเปลี้ย ไม่ใช่คนหูหนวก ไม่ใช่คนใบ้ ลูกอย่าทำอย่างนี้เลย แม่เศร้าโศกมา ตลอดเวลา 16 ปีแล้ว ถ้าลูกถูกนำไปฝัง แม่คงเศร้าโศกจนถึงตายได้นะลูกรัก"

พระเตมีย์ได้ยินดังนั้นก็ทรงสงสารพระมารดาเป็นอันมาก ทรงสำนึกในพระคุณของพระมารดา แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรำลึกว่า พระองค์ตั้งพระทัยไว้ว่า จะไม่ทำการใดที่จะทำให้ต้องไปสู่นรกอีก จะไม่ทรงยอมละความตั้งใจที่จะทำเป็นใบ้ หูหนวก และเป็นง่อย จะไม่ยอมให้สิ่งใดมาชักจูงใจพระองค์ ไปจากหนทางที่ทรงวางไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด



พระราชาจึงตรัสสั่งให้นายสารถีชื่อ สุนันทะ นำพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบ ให้ขุดหลุมแล้วเอาพระเตมีย์โยนลงไปในหลุมเอาดินกลบเสียให้ตาย นายสุนันทะจึงทรงอุ้มพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบเมื่อไปถึงป่าช้านายสุนันทะก็เตรียม ขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์ พระเตมีย์กุมารประทับอยู่บนราชรถ ทรงรำพึงว่า 

"บัดนี้เราพ้นจากความทุกข์ ว่าจะต้องเป็นพระราชา พ้นความทุกข์ว่า จะต้องทำบาป เราได้อดทนมาตลอดเวลา 16 ปี ไม่เคยเคลื่อน ไหวร่างกายเลย เราจะลองดูว่า เรายังคงเคลื่อนไหวได้หรือไม่ มีกำลังร่างกายสมบูรณ์หรือไม่"


รำพึงแล้ว พระเตมีย์ก็เสด็จลงจากราชรถ ทรงเคลื่อนไหว ร่างกาย ทดลองเดินไปมา ก็ทราบว่า ยังคงมีกำลังร่างกาย สมบูรณ์เหมือนคนปกติ จึงทดลองยกราชรถ ก็ปรากฏว่าทรงมีกำลังยกราชรถขึ้นกวัดแกว่ง ได้อย่างง่ายดาย จึงทรงเดินไปหา นายสุนันทะที่กำลังก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่ พระเตมีย์ตรัสถาม นายสุนันทะว่า 

"ท่านเร่งรีบขุดหลุมไปทำไม"

นายสุนันทะตอบ คำถามโดยไม่ได้เงยหน้าขึ้นดูว่า 

"เราขุดหลุมจะฝังพระโอรส ของพระราชา เพราะพระโอรสเป็นง่อย เป็นใบ้ และหูหนวก พระราชาตรัสสั่งให้ฝัง เสีย จะได้ไม่เป็นอันตรายแก่บ้านเมือง"

พระเตมีย์จึงตรัสว่า 

"เราไม่ได้เป็นใบ้ ไม่ได้หูหนวก และไม่ง่อยเปลี้ย จงเงยขึ้นดูเราเถิด ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็จะประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"

นายสารถีเงยขึ้นดู เห็นพระเตมีย์ก็จำไม่ได้ จึงถามว่า 

"ท่านเป็นใคร ท่านมีรูปร่าง งามราวกับเทวดา ท่านเป็นเทวดาหรือ หรือว่าเป็นมนุษย์ ท่านเป็นลูกใคร ทำอย่างไร เราจึงจะรู้จักท่าน"

พระเตมีย์ตอบว่า 

"เราคือเตมีย์กุมาร โอรสพระราชา ผู้เป็นนายของท่าน ถ้าท่านฝังเราเสียท่านก็จะได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พระราชาเปรียบเหมือนต้นไม้ ตัวเราเปรียบเหมือนกิ่งไม้ ท่านได้อาศัยร่มเงาไม้ ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็ได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"

นายสารถียังไม่เชื่อว่าเป็นพระกุมารที่ตนพามา พระเตมีย์ทรงประสงค์จะให้นายสารถีเชื่อจึงตรัสอธิบายทรงอธิบายว่า 

"ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะไปที่ได ก็มีคนคบหามาก จะไม่อดอยาก ไปที่ใดก็มีผู้สรรเสริญบูชา โจรจะไม่ข่มเหง พระราชาไม่ดูหมิ่น จะเอาชนะศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร เมื่อมาถึงบ้านเรือนของตน หมู่ญาติและประชาชน จะพากันชื่นชมยกย่อง ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมได้รับการสักการะ เพราะเมื่อสักการะท่านแล้ว ย่อมได้รับการสักการะตอบ เมื่อเคารพบูชาท่านแล้ว ย่อมได้รับการเคารพตอบ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรืองเหมือนกองไฟรุ่งโรจน์ ดังเทวดา เป็นผู้มีมิ่งขวัญสิริมงคลประจำตนอยู่เสมอ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะทำการใดก็สำเร็จผล โคจะมีลูกมาก หว่านพืชลงในนา ก็จะงอกงาม แม้จะพลัดตกเหว ตกจากภูเขา ตกจากต้นไม้ ก็จะไม่เป็นอันตราย ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ศัตรูไม่อาจข่มเหงได้ เพราะเป็นผู้มีมิตรมาก เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่มีราก ติดต่อพัวพัน ลมแรงก็ไม่อาจทำร้ายได้ "

นายสารถีได้ยินพระเตมีย์ตรัสยิ่งเกิดความสงสัยจึงเดินมาดูที่ราชรถก็ไม่เห็นพระกุมารที่ตนพามา ครั้นเดิน กลับมาพินิจพิจารณาพระเตมีย์อีกครั้งก็จำได้จึงทูลว่า 

"ข้าพเจ้าจะพาพระองค์กลับวัง ขอเชิญเสด็จกลับไป ครองพระนครเถิด" 

พระเตมีย์ตรัสตอบว่า

" เราไม่กลับไปวังอีกแล้ว เราได้ตัดขาดจากความยินดีในสมบัติทั้งหลาย เราได้ตั้งความอดทนมาเป็นเวลาถึง 16 ปี อันราชสมบัติทั้งพระนครและความสุข ความรื่นเริงต่างๆ เป็นของน่าเพลิดเพลิน แต่าเราไม่ปรารถนาจะหลงอยู่ในความเพลิดเพลินนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำบาปอีก เราจะไม่ก่อเวรให้เกิดขึ้นอีกแล้ว บัดนี้เราพ้นจากภาระนั้นแล้ว เพราะพระบิดาพระมารดา ปล่อยเราให้พ้นจากราชสมบัติมาแล้ว เราพ้นจากความหลงใหล ในกิเลสทั้งหลาย เราจะขอบวชอยู่ในป่านี้แต่ลำพัง เราต่อสู้ได้ชัยชนะในจิตใจของเราแล้ว"

เมื่อตรัสดังนั้น พระเตมีย์กุมารมีความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง รำพึงกับพระองค์เองว่า 

"ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี"

นายสุนันทะสารถีได้ฟังก็เกิดความยินดี ทูลพระเตมีย์ว่า จะขอบวชอยู่กับพระเตมีย์ในป่า แต่พระองค์ เห็นว่า หากนายสารถีไม่กลับไปเมือง จะเกิดความสงสัยว่าพระองค์หายไปไหน ทั้งนายสารถี ราชรถ เครื่องประดับทั้งปวงก็สูญหายไป ควรที่นายสารถีจะนำสิ่งของทั้งหลายกับไปพระราชวัง ทูลเรื่องราวให้พระราชาทรงทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมา บวชเมื่อหมดภาระ นายสุนันทะจึงกลับไปกราบทูลพระราชาว่า พระเตมีย์กุมาร มิได้วิกลวิการ แต่ทรงมีรูปโฉมงดงามและ ตรัสได้ไพเราะ เหตุที่แสร้งทำเป็นคนพิการก็เพราะไม่ปรารถนาจะครองราชสมบัติ ไม่ปรารถนาจะก่อเวรทำบาปอีกต่อไป

เมื่อพระราชาและพระมเหสีได้ทรงทราบ ก็ทรงปลื้มปิติยินดี โปรดให้จัดกระบวนไปรับพระเตมีย์กลับจากป่า ขณะนั้น พระเตมีย์ทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในบรรณศาลาซึ่งเทวดา เนรมิตไว้ให้ เมื่อพระบิดา พระมารดาเสด็จไปถึง พระเตมีย์จึงเสด็จมาต้อนรับ ทักทายปราศรัยกันด้วยความยินดี พระราชาเห็นพระโอรสผนวชเป็นฤาษี เสวยใบไม้ลวก เป็นอาหาร และประทับอยู่ลำพังในป่า จึงตรัสถามว่าเหตุใด จึงยังมีผิวพรรณผ่องใส ร่างกายแข็งแรง พระเตมีย์ตรัส ตอบพระบิดาว่า 

"อาตมามีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่ต้องเศร้าโศกถึงอดีต ไม่ต้องรอคอยอนาคต อาตมาใช้ชีวิตให้เป็นไปตามที่สมควรในปัจจุบัน คนพาลนั้นย่อมซูบซีดเพราะมัวโศกเศร้าถึงอดีต เพราะมัวรอคอยอนาคต"

พระราชาตรัสตอบว่า

"ลูกยังหนุ่มยังแน่นแข็งแรง จะมามัวอยู่ทำอะไรในป่า กลับไปบ้านเมืองเถิดกลับ ไปครองราชสมบัติ มีโอรสธิดา เมื่อชราแล้วจึงค่อยมาบวช"

พระเตมีย์ตรัสตอบว่า 

"การบวชของคนหนุ่มย่อมเป็นที่สรรเสริญ ใครเล่าจะนอนใจได้ว่ายังเป็นหนุ่ม ยังอยู่ไกลจากความตาย อายุคนนั้นสั้นนัก เหมือนอายุของปลาในเวลาที่น้ำน้อย"

พระราชาตรัสขอให้พระเตมีย์กลับไปครองราชสมบัติ ทรงกล่าวชักชวนให้นึกถึงความสุขสบายต่างๆ พระเตมีย์จึงตรัสตอบว่า 

"วันคืนมีแต่จะล่วงเลยไป ผู้คนมีแต่ จะแก่ เจ็บและตาย จะเอาสมบัติไปทำอะไร ทรัพย์สมบัติและ ความสุขทั้งหลายเอาชนะความตายไม่ได้ อาตมาพ้นจาก ความผูกพันทั้งหลายแล้ว ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติอีกแล้ว"

เมื่อพระราชาได้ยินดังนั้น จึงเห็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ในการออกบวช ทรงประสงค์ที่จะละทิ้งราชสมบัติออกบวช พระมเหสี และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวง รวมทั้งบรรดา ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสี ก็พร้อมใจกันออกบวช บำเพ็ญเพียรโดยทั่วหน้ากัน เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความผูกพัน ในโลกมนุษย์ ทั้งนี้เป็นด้วยพระเตมีย์กุมาร ทรงมีความอดทนมีความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่ในการที่ไม่ก่อเวร ทำบาป ทรงมุ่งมั่นอดทน จนประสบผลสำเร็จดังที่หวัง เหมือนดังที่ทรงรำพึงว่า 

" ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี "

คติธรรม : บำเพ็ญเนกขัมมบารมี 

"เมื่อมีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนักแน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง"






แหล่งที่มา : dhammathai
About Teachings for Monks (The Teachings of Ajahn Chah)

One of the most notable features of Venerable Ajahn Chah's teaching was the emphasis he gave to the Sangha, the monastic order, and its use as a vehicle for Dhamma practice. This is not to deny his unique gift for teaching lay people, which enabled him to communicate brilliantly with people from all walks of life, be they simple farmers or University professors. But the results he obtained with teaching and creating solid Sangha communities are plainly visible in the many monasteries which grew up around him, both within Thailand and, later, in England, Australia, Europe and elsewhere. Ajahn Chah foresaw the necessity of establishing the Sangha in the West if long-term results were to be realized.

This book is a collection of talks he gave to both laypeople and monks1. The talks he gave to monks are exhortations given to the communities of bhikkhus, or Buddhist monks, at his own monastery, Wat Pah Pong, and some of its branches in both Thailand and the West. This fact should be borne in mind by the lay reader reading those talks. These talks to monks are not intended to, and indeed cannot, serve as an introduction to Buddhism and meditation practice. They are monastic teachings, addressed primarily to the lifestyle and problems particular to that situation. A knowledge of the basics of Buddhism on the part of the listener was assumed. Many of these talks will thus seem strange and even daunting to the lay reader, with their emphasis on conformity and renunciation.

For the lay reader reading the talks Ajahn Chah gave to monks in Thailand, then, it is essential to bear in mind the environment within which these talks were given - the rugged, austere, poverty-stricken North-East corner of Thailand, birth place of most of Thailand's great meditation teachers and almost its entire forest monastic tradition. The people of the North-East are honed by this environment to a rugged simplicity and gentle patience which make them ideal candidates for the forest monk's lifestyle. Within this environment, in small halls dimly lit by paraffin lamps, surrounded by the assembly of monks, Ajahn Chah gave his teachings.

Exhortations by the master occurred typically at the end of the fortnightly recitation of the pātimokkha, the monks' code of discipline. Their content would be decided by the current situation - slackness in the practice, confusion about the rules, or just plain ''unenlightenment.'' In a lifestyle characterized by simplicity and contentment with little, complacency is an ongoing tendency, so that talks for arousing diligent effort were a regular occurrence.

The talks themselves are spontaneous reflections and exhortations rather than systematic teachings as most Westerners would know them. The listener was required to give full attention in the present moment and to reflect back on his own practice accordingly, rather than to memorize the teachings by rote or analyze them in terms of logic. In this way he could become aware of his own shortcomings and learn how to best put into effect the skillful means offered by the teacher.

Although meant primarily for a monastic resident - be one a monk, nun or novice - the interested lay reader will no doubt obtain many insights into Buddhist practice from these talks. At the very least there are the numerous anecdotes of the Venerable Ajahn's own practice which abound throughout them; these can be read simply as biographical material or as instruction for mind training.
From the contents of these talks, it will be seen that the training of the mind is not, as many believe, simply a matter of sitting with the eyes closed or perfecting a meditation technique, but is, as Ajahn Chah would say, a great renunciation.

The translator of 'Food for the Heart'

Source : ajahnchah

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom