วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

มงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ

 

มงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ

มงคล  สิ่งที่ทำให้มีโชคดี  ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ
มงคล ๓๘ ประการ หรือเรียกเต็มว่า อุดมมงคล (มงคลอันสูงสุด) ๓๘ ประการ มีดังนี้

คาถาที่ ๑ =
๑. อเสวนา จ พาลานํ     ไม่คบคนพาล
๒. ปณฺฑิตานญฺจเสวนา    คบบัณฑิต
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ     บูชาคนที่ควรบูชา

คาถาที่ ๒ =
๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ อยู่ในปฏิรูปเทส,   อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา   ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ    ตั้งตนไว้ชอบ
       
คาถาที่ ๓ =

๗. พาหุสจฺจญฺจ    เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
๘. สิปฺปญฺจ    มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน
๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต    มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา    วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี

คาถาที่ ๔ =
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ    บำรุงมารดาบิดา
๑๒/๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห =ปุตฺตสงฺคห สงเคราะห์บุตร  และ ทารสงฺคห   สงเคราะห์ภรรยา
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา    การงานไม่อากูล

คาถาที่ ๕ =
๑๕. ทานญฺจ   รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์
๑๖. ธมฺมจริยา จ   ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม
๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห    สงเคราะห์ญาติ
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ    การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ไม่เป็นทางเสียหาย

คาถาที่ ๖ =
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา   เว้นจากความชั่ว
๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม   เว้นจากการดื่มน้ำเมา
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ   ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

คาถาที่ ๗ =

๒๒. คารโว จ    ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักถึงคุณค่าของบุคคล สิ่งของหรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม
๒๓. นิวาโต จ    ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน
๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ    ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม
๒๕. กตญฺญุตา    มีความกตัญญู
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ    ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงหาความรู้ ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง

คาถาที่ ๘ =
 ๒๗. ขนฺตี จ   มีความอดทน
 ๒๘. โสวจสฺสตา   เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
 ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ    พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา    สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับหลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม

คาถาที่ ๙ =
๓๑. ตโป จ    มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก
๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ    ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัติตามควร
๓๓. อริยสจฺจานทสฺสนํ    เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ    ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน

คาถาที่ ๑๐ =
๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ    ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
๓๖. อโสกํ    จิตไร้เศร้า
๓๗. วิรชํ    จิตปราศจากธุลี
๓๘. เขมํ   จิตเกษม

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยพระธรรมปิฏก

มงคลที่ 1 , มงคลที่ 2 , มงคลที่ 3มงคลที่ 4 , มงคลที่ 5 , มงคลที่ 6 , มงคลที่ 7 มงคลที่ 8 , มงคลที่ 9 , มงคลที่ 10 , มงคลที่ 11 , มงคลที่ 12 , มงคลที่ 13 , มงคลที่ 14 , มงคลที่ 15 , มงคลที่ 16 , มงคลที่ 17 , มงคลที่ 18 มงคลที่ 19 , มงคลที่ 20 , มงคลที่ 21 , มงคลที่ 22 , มงคลที่ 23 , มงคลที่ 24 มงคลที่ 25 , มงคลที่ 26 , มงคลที่ 27 , มงคลที่ 28 , มงคลที่ 29 , มงคลที่ 30 , มงคลที่ 31 , มงคลที่ 32 , มงคลที่ 33 มงคลที่ 34 , มงคลที่ 35 , มงคลที่ 36มงคลที่ 37มงคลที่ 38 ฯ

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: