6. หมวดบัณฑิต - The Wise
๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ ฯ๓๘๓ฯ
พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา) และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย
เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)
Strive and stop the stream of craving, Discrad, O brahmana, sense-desires.
Knowing conditioned things, brahmana, You will know the Unconditioned.
๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อภสฺส สพฺเพ สํโยคา อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ ชานโต ฯ๓๘๔ฯ
เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา)
เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป
When depending on the twofold means, A brahmana has reached the Other Shore,
Then of that one who knows, All fetters remain no more.
๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา, ปาราปารํ น วิชฺชติ;
วีตทฺทรํ วิสญฺญุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๘๕ฯ
ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
For whom there exists Neither the Hither nor the Father Shore, Nor both the Hither and the Farther Shore, He who is undistressed and unbound-Him do I call a brahmana.
๔. ฌายึ วิรชมาสีนํ กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๘๖ฯ
ผู้ใดบำเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทำ หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
Meditative, dwelling alone, Free from passion taint, Having done what should be done,
Devoid of all corruptions, And having reached the Highest Goal-Him do I call a brahmana
๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ สพฺพมโหรตฺตึ พุทฺโธ ตปติ เตชสา ฯ๓๘๗ฯ
พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน พระจันทร์ สว่างกลางคืน นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน
By day the sun shines. By night the moon is bright. Armoured shines the warrior.
In meditation the brahmana glows. But all day and all night, The Buddha shines in splendour.
๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ ฯ๓๘๘ฯ
ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้ ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้
Without evil he is called a brahmana. He who lives in peace is called a samana.
With all impurities gone, A pabbajita is he called.
๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ ฯ๓๘๙ฯ
ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช) และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตำหนิ แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตำหนิกว่า
One should not strike a brahmana, Nor such a brahmana vent his wrath on him.
Woe to him who strikes a brahamana. More woe to him who gives way to his wrath.
๘. น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทา นิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ๓๙๐ฯ
ไม่มีอะไรจะดีสำหรับพราหมณ์ เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์ เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ
ไม่มีอะไรจะดีสำหรับพราหมณ์ เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์ เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ
Naught is better for a brahmana. Than restraint of mind from what is dear.
Whenever his ill will has been put aside, Then and then only his sorrow subsides.
๙. ยสฺส กาเยน วาจาย มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ
สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๑ฯ
ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ สำรวมระวังทั้งสามทวาร ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He in whom there is no evil done, Through body speech or mind,
He who is restrained in the three ways-Him do I call a brahmana.
๑๐. ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ ฯ๓๙๒ฯ
เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง จากบุคคลใด ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ
From whom one knows the Truth Sublime Which the Awakened One proclaimed,
Devotedly should one revere him, As a brahmana tends the sacrificial fire.
๑๑. น ชฏาหิ น โคตฺเตน น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ฯ๓๙๓ฯ
มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร มิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม ย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์
Not by matted hair, nor by clan, nor by birth, Does one become a brahmana.
In whom there are truth and righteouseness, Pure is he, a brahmana is he.
๑๒. กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ กึ เต อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรํ เต คหณํ พาหิรํ ปริมชฺชสิ ฯ๓๙๔ฯ
เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์ จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเจ้า ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง
What use of your matted hair, O foolish one? And what of your entelope-garment?
Full of impurities is your mind, You embellish only the outside.
๑๓. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ กิสํ ธมนิสนฺถตํ
เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๕ฯ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น บำเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว เราเรียกว่า พราหมณ์
Clad in rag-robes and lean, With body overspread by veins,
Meditationg in the forest alone-Him do I call a brahmana.
๑๔. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
โภวาที นาม โส โหติ ส เว โหติ สกิญฺจโน
อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๖ฯ
เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์ หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์ เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์ หากเขายังมีกิเลสอยู่ เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
I do not call him a brahmana Merely because he is born of a womb
Or sprung from a brahmani. If he is full of impediments, He is merely a brahmana by name.
He who is free from impediments and clinging-Him do I call a brahmana.
๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ เฉตฺวา โย เว น ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๗ฯ
ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ เป็นอิสระจากเครื่องจองจำคือกิเลส ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off all bonds, He who trembles not,
He who is free and unbound-Him do I call a brahmana.
๑๖. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ สนฺทานํ สหนุกฺกมํ
อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๘ฯ
ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา) เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off the strap (of hatred), The thong (of craving),
The rope (of heresies), Together with all tendencies: He who has thrown up the cross-bar
(ignorance) And has realized the Truth- Him do I call a brahmana.
๑๗. อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ
ขนฺติพลํ พลานีกํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๓๙๙ฯ
ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า และการลงโทษจองจำ มีขันติเป็นกำลังทัพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not wrathful Bears reviling, blows and bonds, Whose power, the potent army, is patience-Him do I call a brahmana.
๑๘. อกฺโกธนํ วตวนฺตํ สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ
ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๐ฯ
ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต หมดกิเลสฝึกฝนตน มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is free from anger, He who is dutiful and righteous, He who is without craving, and controlled; And he who bears his final body-Him do I call a brahmana.
๑๙. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิปฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๑ฯ
ผู้ใดไม่ติดในกาม เหมือนหยาดน้ำไม่ติดใบบัว และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
Like water on a lotus leaf, Like a mustard seed on a needle's point,
He who clings not to sensual pleasures-Him do I call a brahmana.
๒๐. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ อิเธว ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๒ฯ
ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้ หมดภาระแบกหามกิเลส เป็นอิสระจากกิเลส เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has realized in this world. The destruction of his own ill,
Who has put aside the burden and is freed-Him do I call a brahmana.
๒๑. คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๓ฯ
ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม เราเรียกว่า พราหมณ์
He whose wisdom is deep, Who is wise and skilled. In the right and wrong means, Who has reached the Highest Goal- Him do I call a brahmana.
๒๒. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ อนาคาเรหิ จูภยํ
อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๔ฯ
ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย คือคฤหัสถ์และบรรพชิต จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not intimate With both householder and homeless,
Who with no fixed abode Wanders, wanting but little- Him do I call a brahmana.
๒๓. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ ตเสสุ ถาวเรสุ จ
โย น หนฺติ น ฆาเตติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๕ฯ
ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up harming creatures, Whether feeble or strong,
Who neither kills nor causes to kill-Him do I call a brahmana.
๒๔. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๖ฯ
ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์
Friendly among the hostile, Peaceful among the violent,
Ungrasping among the grasping-Him do I call a brahmana.
๒๕. ยสฺส ราโค จ โทโส จ มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ ฯ๔๐๗ฯ
ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
In whom lust, hatred, pride And detraction are fallen off,
As a mustard seed from the needle's point-Him do I call a brahmana.
๒๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๘ฯ
ผู้พูดถ้อยคำนิ่มนวล แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง ไม่กระทบกระทั่งใคร เราเรียกว่า พราหมณ์
He who utters words Gentle, instructive and true,
He who gives offence to none Him do I call a brahmana.
๒๗. โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ
โลเก อทินฺนํ นาทิยติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๐๙ฯ
ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น ไม่ว่าสั้นหรือยาว เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who in this world Takes not what is not given, Be it long or short, Small or great, fair or foul-Him do I call a brahmana.
๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๐ฯ
ผู้ใดไม่มีความอยาก ในโลกนี้และโลกหน้า หมดกิเลส เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no longing Either for this world or nexto world,
Who is detached and emancipated-Him do I call a brahmana.
๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ อญฺญาย อกถํกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๑ฯ
ผู้ใดหมดตัณหา หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง ลุถึงอมตนิพพานแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no more longing, Who through knowledge is free from doubts,
Who has plunged deep into the Deathless- Him do I call a brahmana.
๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๒ฯ
ผู้ละบุญละบาปได้ พ้นกิเลสผูกพัน ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์ เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond Good and bad and attachment, Who is sorrowless, stainless and pure-Him do I call a brahmana.
๓๑. จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๓ฯ
ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ ผ่องใส หมดความพอใจในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is pure as the spotless moon, He who is serene and clear,
He who has ended delight in existence-Him do I call a brahmana.
๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ สํสารํ โมหมจฺจคา
ติณฺโณ ปารคโต ฌายี อเนโช อกถํกถี
อนุปาทาย นิพฺพุโต ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๔ฯ
ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้ ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
หมดตัณหา หมดความสงสัย หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond This quagmire, this difficult path, The ocean (of life) and delusion, Who has crossed and gone beyond,
Who is meditative, desireless and doubtless, Who, clinging to nought, has attained Nibbana- Him do I call a brahmana.
๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ฯ
ผู้ละกามารมณ์ ออกบวชไม่มีเรือน หมดความใคร่ในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up sensual pleasures, Would renounce and become a homeless one,
Who has removed the lust of becoming-Him do I call a brahmana.
๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๖ฯ
ผู้ละตัณหา ออกบวชไม่มีเรือน หมดความอยากในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up craving, Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-Him do I call a brahmana.
๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๗ฯ
ผู้ละเครื่องผูกพัน ทั้งของมนุษย์และเทวดา หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, discarding human ties, And transcending celestial ties, Is completely freed from all ties-Him do I call a brahmana.
๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๘ฯ
ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส) อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up delight and aversion, Who is cooled and without attachments,
Strenuous and victorious over the world-Him do I call a brahmana.
๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๙ฯ
ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์
He who perfectly understands The rise and fall of all beings,
Who is detached, well-hone and enlightened-Him do I call a brahmana.
๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๐ฯ
เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ทราบทางไปของผู้ใด ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He whose way is unknown To hods, gandharvas and men, Who has destroyed all defilements
And who has become enlightened-Him do I call a brahmana.
๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๑ฯ
ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต) ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่ที่สุด (อนาคต) ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์
He who clings not to the past, The present and the future, too,
Who has no clinging and grasping- Him do I call a brahmana.
๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๒ฯ
มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า ชำนะ ปราศจากตัณหา บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์
The fearless, the noble, the hero, The great sage, the conqueror,
The desireless, the pure, the enlightened-Him do I call a brahmana.
๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต อภิญฺญาโวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๒๓ฯ
มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน เห็นสวรรค์และอบาย ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป รู้แจ้งเห็นจริง บำเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์
The sage who knows his previous births, Who sees heaven and hell,
Who has reached the end of births, Who has attained to insight-wisdom,
Who has completed his holy life- Him do I call a brahmana.
ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก
ที่มา : dhammathai
1. หมวดคู่ - THE PAIRS, 2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness, 3. หมวดจิต - The Mind, 4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS, 5. หมวดคนพาล - THE FOOL, 6. หมวดบัณฑิต - The Wise, 7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY, 8. หมวดพัน - THE THOUSANDS, 9. หมวดบาป - EVIL, 10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT, 11. หมวดชรา - OLD AGE, 12. หมวดตน - THE SELF, 13. หมวดโลก - THE WORLD, 14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE, 15. หมวดความสุข - HAPPINESS, 16. หมวดความรัก - AFFECTIONS, 17. หมวดความโกรธ - ANGER, 18. หมวดมลทิน - IMPURITY, 19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST, 20. หมวดทาง - THE PATH, 21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS, 22. หมวดนรก - HELL, 23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT, 24. หมวดตัณหา - CRAVING, 25. หมวดภิกษุ - THE MONK, 26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA
0 comments: