วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ

วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ

วัฏฏะ คือความวน หรือความเวียน มี ๓ อย่างคือ

๑. กิเลสวัฏฏะ วนคือกิเลส

๒. กรรมวัฏฏะ วนคือกรรม

๓. วิปากวัฏฏะ วนคือวิบาก ผลของกรรม

หมายความว่า

๑. กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม กิเลสจึงเป็นเหตุ กรรมจึงเป็นผลของกิเลส

๒. กรรมนั้นเองก็เป็นตัวเหตุให้เกิดวิบาก กรรมจึงเป็นเหตุ วิบากจึงเป็นผลของกรรม

๓. วิบากนั้นเองก็เป็นตัวเหตุก่อกิเลสขึ้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ วิบากนั้นก็เป็นเหตุ กิเลสก็เป็นผลของวิบาก

ส่วนภูมิ ๓ คือกามภูมิ ๑ รูปภูมิ ๑ อรูปภูมิ ๑ เป็นสถานที่อยู่อาศัยของมัจจุ กล่าวคือกิเลสมาร

บ่วงมาร หมายถึงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และหมายถึงวัฏฏะที่เป็นเหตุให้สัตว์โลกวนเวียนอยู่ในภูมิ ๓ นั้น

บ่วงมารจึงเป็นเครื่องผูกมัดสัตว์โลกให้หมกมุ่นมัวเมาอยู่ในภูมิ ๓ และต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปตามอำนาจของกิเลสมารคือมัจจุ ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ไปได้ เหมือนบ่วงของนายพรานที่ติดเท้านกแล้ว นกนั้นก็ไม่สามารถบินรอดไปได้ฉะนั้น

สัตว์โลกจึงลุ่มหลงมัวเมาอยู่ ไม่สามารถลุถึงความเกษมได้

ส่วนชนเหล่าใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ชนเหล่านั้นก้าวล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยาก คือก้าวล่วงได้ยากนักนั้นแล้ว จักถึงฝั่งคือพระนิพพาน

ดังพระพุทธพจน์ว่า

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ     เย ชนา ปารคามิโน

อถายํ อิตรา ปชา        ตีรเมวานุธาวติ.

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต   ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน

เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ    มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรนฺติ ฯ

แปลว่า

บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย, ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว,  ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว, ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้วจึงถึงฝั่งคือพระนิพพาน” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรค (เรื่องการฟังธรรม)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

7/8/65

ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด , คนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ 





Previous Post
Next Post

0 comments: