วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

3. หมวดจิต - The Mind

3. หมวดจิต - The Mind

1. ผนฺทนํ  จปลํ  จิตฺตํ   ทุรกฺขํ  ทุนฺนิวารยํ
    อุชุํ  กโรติ  เมธาวี    อุชุกาโรว  เตชนํ ฯ33ฯ


จิตดิ้นรน กลับกลอก ป้องกันยาก ห้ามยาก คนมีปัญญาสามารถดีดให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศร

The flickering , fickle mind, Difficult to guard, difficult to control,
The wise man straightens, As a fletcher straightens an arrow.

2. วาริโชว  ถเล  ขิตฺโต  โอกโมกต  อุพฺภโต
    ปริผนฺทติทํ  จิตฺตํ    มารเธยฺยํ  ปหาตเว ฯ34ฯ


มัสยาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรน เพื่อจะกลับไปยังแหล่งน้ำที่เคยอาศัย
จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย

Like a fish drawn its watery abode And thrown upon land,
Even so does the mind flutter, Hence should the realm of passions be shunned.

3. ทุนฺนิคฺคหสฺส  ลหุโน   ยตฺถ  กามนิปาติโน
    จิตฺตสฺส  ทมโถ  สาธุ    จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ ฯ35ฯ


จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้

Good is it to control the mind Which is hard to check and swift
And flits wherever it desires. A subdued mind is conducive to happiness.

4. สุทุทฺทสํ  สุนิปุณํ    ยตฺถ  กามนิปาตินํ
    จิตฺตํ  รกฺเขถ  เมธาวี   จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวหํ ฯ36ฯ


จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี
เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นำสุขมาให้

Hard to perceive and extremely subtle is this mind, It roams wherever it desires.
Let the wise man guard it; A guarded mind is conducive to happiness.

5. ทูรงฺคมํ  เอกจรํ     อสรีรํ  คุหาสยํ
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ  โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา ฯ37ฯ


จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

Faring afar, solitary, incorporeal Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed From the bond od Mara.

6. อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส    สทฺธมฺมํ  อวิชานโต
    ปริปุลวปสาทสฺส    ปญฺญา  น  ปริปูรติ ฯ38ฯ


ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง

He whose mind is inconstant, He who knows not the true doctrine,
He whose confidence wavers - The wisdom of such a one is never fulfilled.

7. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส   อนนุวาหตเจตโส
    ปุญฺญปาปปหีนสฺส   นตฺถิ  ชาครโต  ภยํ ฯ40ฯ


ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์ มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ ละบุญและบาปได้ ย่อมไม่กลัวอะไร

He who is vigilant, He whose mind is not overcome by lust and hatred,
He who has discarded both good and evil - For such a one there is no fear.

8. กุมฺภูปมํ  กายมิมํ  วิทิตฺวา           
    นครูปมํ   จิตฺตมิทํ  ถเกตฺวา
    โยเชถ  มารํ  ปญฺญาวุเธน          
    ชิตญฺจ  รกฺเข  อนิเวสโน  สิยา ฯ41ฯ

เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้ ระวังอย่าตกอยุ่ในอำนาจมารอีก

Realizing that body is fragile as a pot, Establishing one's mind as firm as a fortified city,
Let one attack let one guard one's conquest And afford no rest to Mara.

9. อจิรํ  วตยํ  กาโย    ปฐวึ อธิเสสฺสติ
    ฉุฑฺโฑ  อเปตวิญฺญาโณ  นิรตฺถํว  กลิงฺครํ ฯ41ฯ


อีกไม่นาน ร่างกายนี้ จักปราศจากวิญญาณ ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้

Soon, alas! will this body lie Upon the ground, unheeded,
Devoid of consciousness, Even as useless log.

10. ทิโส  ทิสํ  ยนฺตํ  กยิรา   เวรี  วา  ปน  เวรินํ
    มิจฺฉาปณิหิตํ  จิตฺตํ    ปาปิโย  น  ตโต  กเร ฯ42ฯ


จิตที่ฝึกฝนผิดทาง ย่อมทำความเสียหายได้ ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร

Whatever harm a foe may do to a foe, Or a hater to a hater, An ill-directed mind
Can harm one even more.

11. น  ตํ  มาตา  ปิตา  กยิรา   อญฺเญ  วาปิจ  ญาตกา
    สมฺมาปณิหิตํ  จิตฺตํ    เสยฺยโส  นํ  ตโต  กเร ฯ43ฯ


มารดาก็ทำให้ไม่ได้  บิดาก็ให้ไม่ได้  ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้ และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย

What neither mother ,nor father, Nor any other relative can do, A well-directed mind does
And thereby elevates one.

ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก
ที่มา : dhammathai 

1. หมวดคู่ - THE PAIRS2. หมวดไม่ประมาท - Heedfulness3. หมวดจิต - The Mind4. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS5. หมวดคนพาล - THE FOOL,  6. หมวดบัณฑิต - The Wise7. หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY8. หมวดพัน - THE THOUSANDS9. หมวดบาป - EVIL10. หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT11. หมวดชรา - OLD AGE12. หมวดตน - THE SELF13. หมวดโลก - THE WORLD14. หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE15. หมวดความสุข - HAPPINESS16. หมวดความรัก - AFFECTIONS17. หมวดความโกรธ - ANGER18. หมวดมลทิน - IMPURITY19. หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST20. หมวดทาง - THE PATH21. หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS22. หมวดนรก - HELL23. หมวดช้าง - THE ELEPHANT24. หมวดตัณหา - CRAVING25. หมวดภิกษุ - THE MONK,  26. หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings. All the teachings flow from this foundation.

The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings. All the teachings flow from this foundation.

The Four Noble Truths are

1. The Noble Truth of the reality of Dukkha as part of conditioned existence. Dukkha is a multi-faceted word. Its literal meaning is "that which is difficult to bear". It can mean suffering, stress, pain, anguish, affliction or unsatisfactoriness. Each of the English words is either too strong or too weak in their meaning to be a universally successful translation. Dukkha can be gross or very subtle. From extreme physical and mental pain and torment to subtle inner conflicts and existential malaise.

2. The Noble Truth that Dukkha has a causal arising. This cause is defined as grasping and clinging or aversion. On one hand it is trying to control anything and everything by grabbing onto or trying to pin them down, On the other hand it is control by pushing away or pushing down and running away or flinching away from things. It is the process of identification through which we try to make internal and external things and experiences into "me and mine" or wholly '"other" than Me. This flies in the face of the three signs of existence - Anicca, Dukkha. Anatta - Impermanence. Stress or Suffering and No-Self. Because all conditioned existence is impermanent it gives rise to Dukkha, and this means that in conditioned existence there is no unchanging and permanent Self. There is nothing to grasp onto and also in reality, nothing or no 'one' to do the grasping! We grab onto or try to push away ever changing dynamic processes. These attempts to control, limit us to little definitions of who we are.

3. The Noble Truth of the end of Dukkha, which is Nirvana or Nibbana. Beyond grasping and control and conditional existence is Nirvana. "The mind like fire unbound." The realisation of Nirvana is supreme Bodhi or Awakening. It is waking up to the true nature of reality. It is waking up to our true nature. Buddha Nature. The Pali Canon of Theravada, the foundational Buddhist teachings, says little about Nirvana, using terms like the Unconditioned the Deathless, and the Unborn. Mahayana teachings speak more about the qualities of Nirvana and use terms like, True Nature, Original Mind, Infinite light and Infinite life. Beyond space and time. Nirvana defies definition.

Nirvana literally means "unbound' as in "Mind like fire unbound". This beautiful image is of a flame burning by itself. Just the flame, not something burning and giving off a flame. Picture a flame burning on a wick or stick, it seems to hover around or just above the thing burning. The flame seems to be independent of the thing burning but it clings to the stick and is bound to it. This sense of the flame being unbound has often been misunderstood to mean the flame is extinguished or blown out. This is completely opposite to the meaning of the symbol. The flame "burns" and gives light but is no longer bound to any combustible material. The flame is not blown out - the clinging and the clung to is extinguished. The flame of our true nature, which is awakening, burns independently. Ultimately Nirvana is beyond conception and intellectual understanding. Full understanding only comes through direct experience of this "state' which is beyond the limitations and definitions of space and time.

4. The Noble Truth of the Path that leads to Awakening. The path is a paradox. It is a conditioned thing that is said to help you to the unconditioned. Awakening is not "made" by anything: it is not a product of anything including the Buddha's teachings. Awakening, your true nature is already always present. We are just not awake to this reality. Clinging to limitation, and attempts to control the ceaseless flow of phenomena and process obscures our true nature.

The path is a process to help you remove or move beyond the conditioned responses that obscure your true nature. In this sense the Path is ultimately about unlearning rather than learning - another paradox. We learn so we can unlearn and uncover. The Buddha called his teaching a Raft. To cross a turbulent river we may need to build a raft. When built, we single-mindedly and with great energy make our way across. Once across we don't need to cart the raft around with us. In other words don't cling to anything including the teachings. However, make sure you use them before you let them go. It's no use knowing everything about the raft and not getting on. The teachings are tools not dogma. The teachings are Upaya, which means skillful means or expedient method. It is fingers pointing at the moon - don't confuse the finger for the moon.

The Path

1. * Samma-Ditthi - Complete or Perfect Vision, also translated as right view or understanding. Vision of the nature of reality and the path of transformation.

2. Samma-Sankappa - Perfected Emotion or Aspiration, also translated as right thought or attitude. Liberating emotional intelligence in your life and acting from love and compassion. An informed heart and feeling mind that are free to practice letting go.

3. Samma-Vaca - Perfected or whole Speech. Also called right speech. Clear, truthful, uplifting and non-harmful communication.

4. Samma-Kammanta - Integral Action. Also called right action. An ethical foundation for life based on the principle of non-exploitation of oneself and others. The five precepts.

5. Samma-Ajiva - Proper Livelihood. Also called right livelihood. This is a livelihood based on correct action the ethical principal of non-exploitation. The basis of an Ideal society.

6. Samma-Vayama - Complete or Full Effort, Energy or Vitality. Also called right effort or diligence. Consciously directing our life energy to the transformative path of creative and healing action that fosters wholeness. Conscious evolution.

7. Samma-Sati - Complete or Thorough Awareness. Also called "right mindfulness". Developing awareness, "if you hold yourself dear watch yourself well". Levels of Awareness and mindfulness - of things, oneself, feelings, thought, people and Reality.

8. Samma-Samadhi - Full, Integral or Holistic Samadhi. This is often translated as concentration, meditation, absorption or one-pointedness of mind. None of these translations is adequate. Samadhi literally means to be fixed, absorbed in or established at one point, thus the first level of meaning is concentration when the mind is fixed on a single object. The second level of meaning goes further and represents the establishment, not just of the mind, but also of the whole being in various levels or modes of consciousness and awareness. This is Samadhi in the sense of enlightenment or Buddhahood.

* The word Samma means 'proper', 'whole', 'thorough', 'integral', 'complete', and 'perfect' - related to English 'summit' - It does not necessarily mean 'right', as opposed to 'wrong'. However it is often translated as "right" which can send a less than accurate message. For instance the opposite of 'Right Awareness' is not necessarily 'Wrong Awareness'. It may simply be incomplete. Use of the word 'right' may make for a neat or consistent list of qualities in translations. The down side is that it can give the impression that the Path is a narrow and moralistic approach to the spiritual life. I use variant interpretations so you consider the depth of meanings. What do these things mean in your life right now?


- John Allan

Source :  buddhanet

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom

วันเข้าพรรษา-Buddhist Lent Day Observances.

วันเข้าพรรษา - Buddhist Lent Day Observances.

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

*** เพิ่มเติม *** 
"ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา"
"ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

 การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง 

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว 

ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

เรียบเรียงจาก ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,​ ๒๕๔๑ : ๓๙ - ๕๙)
____

The significance of Vesak Full Moon Day , Māgha Pūjā Day , Pavāranā day , Happy Vesak Day. ,  วันวิสาขบูชา  , วันวิสาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญวิสาขะ  , วันอาสาฬหบูชา , วันอาสาฬหบูชา ประวัติและความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา , สาระสำคัญของวันมาฆบูชา , วันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา , 'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ , วันออกพรรษา-Day of going out of Vassa , วันเข้าพรรษา-Buddhist Lent Day Observances , วันอาสาฬหบูชา , วันนี้วันพระ“วันอัฏฐมีบูชา” , วันอัฏฐมีบูชา , วันมหาปวารณา , ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า , วิสาขบูชานุสติ , พระพุทธเจ้า“ประกาศอิสรภาพ”ให้แก่มวลมนุษย์ , ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสอะไรไว้กับชาวโลกบ้าง , เมื่อคืนพระจันทร์สวย ในวันวิสาขบูชา : พิจารณาธรรมชาติ , กฐิน

















ที่มา : dhammathai
รวมภาพพุทธประวัติเรียงลำดับเหตุการณ์ ทั้งหมด 81 ภาพ วัดพระบาทน้ำพุ

รวมภาพพุทธประวัติเรียงลำดับเหตุการณ์ ทั้งหมด 81 ภาพ วัดพระบาทน้ำพุ


ภาพที่ 1 พระนางสิริมหามายาทรงบริจาคมหาทาน
อภินิหารแห่งพระนางสิริมหามายา ในภาพ เแนวพระอัจฉริยธรรมที่ทรงปฏิบัติในวันอุโบสถศีล ทรงศีลบริจาคทานแก่มหาชนเทวทหะนคร อันมีไพร่ฟ้าข้าราษฏร สมณีชีพราหมณ์โดยบัญญาธิการในทรัพย์นั้นมีปาฏิหาริย์ เป็นบุญกิริยาที่ทรงประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นเสมอ



ภาพที่ 2 พระนางสิริมหามายารับสร้อยพระศอของหมั้นจากพระสุทโธทนะ
พระสิริมหามายาทรงรับของหมั้น (จากพราหมณ์ทิชาจารย์) ในภาพ พระสิริมหามายาทรงเจริญวัย ๑๖ พรรษา เสด็จประพาสอยู่ในสวนหลวง หมู่พราหมณ์ได้ค้นพบว่าทรงเป็นรัตนกัลยา จึงได้หมั้นหมายให้เป็นคู่อภิเษกสมรส กับพระสุทโธทนะด้วยสร้อยประดับพระศอ



ภาพที่ 3 พระราชพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายสุทโธทนะกับเจ้าหญิงสิริมหามายา
พระราชพิธีอภิเษกสมรส ในภาพ แสดงพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายสุทธโทนะกับเจ้าหญิงสิริมหามายาในมหามณฑป ท่่ามกลางหมู่พระประยูรญาติทั้ง ๒ ผ่ายมีท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส เป็นประธานในพิธีอิภิเษกสมรส และพระอินทร์พร้อมหมู่บริวารเข้าร่วมพิธี โดยแสดงไว้ ที่ฉากระยะหลังของภาพ



ภาพที่ 4 ปวงเทพยดาอัญเชิญพระโพธิสัตว์จุติเพื่อโปรดสัตว์โลก
หมู่ทวยเทพอัญเชิญจุติ ในภาพ พระโพธิสัตว์สันตดุสิตประทับ ณ ทิพยอาสน์ในอากัปกิริยาตรวจดู
มหาวิโลกนะ ๕ ประการ เพื่อตรวจดูความเหมาสะสมตามคำทูลเชิญปวงเทพที่เสด็จมาชุมนุม ณ ที่นั้น


ภาพที่ 5 พระสิริมหามายาราชเทวีทรงพระสุบินนิมิตเห็นพระยาช้างเผือก
พระสิริมหามายาราชเทวีทรงพระสุบินนิมิต ในภาพ แสดงพระสุบินนิมิตแห่งความฝันของพระนางเจ้าสิริมหามายาราชเทวี ผู้ที่่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกให้เป็นพุทธมารดา พระโพธิสัตว์ทรงแสดงให้่พระมารดา
นิมิตเห็นพระยาช้างเผือกชูงวงจับดอกบัวขาวกระทำทักษิณาวัตร ๓ รอบ ก่อนเสด็จเข้าพระครรภ์ทางด้านขวา



ภาพที่ 6 พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระครรภ์ครบบริบูรณ์ 10 เดือน 
พระโพธิสสัตว์ขณะอยู่ในพระครรภ์ ในภาพ แสดงถึงพระบุญญาธิการพระสิริมหามายาพุทธมารดา ระหว่างทรงครรภ์ ทรงมองเห็นพระโอรส พระโอรสนั้นประทับอยู่ในพระครรภ์ดุจห้องพระเจดีย์ และมีเหล่าท้าวจตุมหาราชาทั้ง ๔ ถวายการอารักขาความปลอดภัยแก่พระโพธิสัตว์และพระมารดาตลอดเวลา ทั้งกลางวัน กลางคืน ระหว่างที่ทรงบริหารครรภ์อยู่ครบบริบูรณ์ ๑๐ เดือน



ภาพที่ 7 พระกุมารโพธิสัตว์ประสูติแล้วเสด็จพระราชดำเนิน ๗ ก้าว มีดอกบัวทิพย์รองรับพระบาท
พระประสูติการพระโพธิสัตว์ ในภาพ พระนางเจ้าสิริมหามายายื่นพระหัตถ์โน้มกิ่งสาละประสูติพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จออกมาทางด้านขวาแห่งพระชนนี พระกุมารนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปได้ ๗ ก้าว ก็มีดอกบัวทิพย์รองรับพระบาททรงเปล่งพระวาจา อันอาจหารเป็นเบื้องต้นว่า ในโลกนี้เราเป็นยอด เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุดการเกิดของเรานี้เป็นครั้งสุดท้ายภพใหม่ต่อไปไม่มี



ภาพที่ 8 สหชาติทั้ง 7 ที่บังเกิดขึ้นพร้อมกับการประสูติของพระโพธิสัตว์

สัตตสหชาติพระโพธิสัตว์ ในภาพ แสดงถึงบุคคลที่เป็นบริวารแวดล้อมอยู่ในฐานะต่าง ๆ มีอุปการคุณต่อพระโพธิสัตว์รวมถึงม้ามงคลไม้มหาโพธิ และพระราชทรัพย์ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมพระโพธิสัตว์ผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย



ภาพที่ 9 อสิตดาบสทำนายพระลักษณะมหาบุรุษ พระโพธิสัตว์ แสดงปาฏิหาริย์ปรากฏเหนือมวยผมของดาบส อสิตดาบสทำนายมหาปุริสลักษณะ ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้อสิตดาบสทราบว่าพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ โดยเสด็จไปประทับอยู่ยอดมวยผมของพระดาบส พระดาบสตกใจ พนมมือยอมรับฐานะ ส่วนพระราชบิดาได้ไหว้พระโอรสเป็นครั้งที่ ๑ ขณะนั้นพระราชมารดาสิริมหามายาประทับอยู่ด้านซ้ายของพระราชา และมหาปชาบดี ประท้บอยู่ด้านขวา



ภาพที่ 10 พราหมณ์ทั้ง 8 ทำนายพระลักษณะว่า 
ถ้าทรงครองราชย์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าทรงผนวช จะเป็นพระพุทธเจ้ามหาศาสดาของโลก พราหมณ์ทั้ง ๘ ทำนายมหาปุริสลักษณะ ในภาพ พราหมณ์ทั้ง ๘ ทำนายมหาปุริสลักษณะ พราหมณ์คนที่อยู่ใกล้พระราชกุมารที่สุดชื่อโกณฑัญญะพราหมณ์ เป็นผู้ทำนายว่าจะเสด็จออกผนวช 

และจะทรงบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่ระหว่างนี้พระราชมารดาสิริมหามายายังดำรงพระชนม์อยู่

ภาพที่ 11 พระราชกุมารสิทธัตถะทรงเจริญฌานได้บรรลุ
ถึงขั้นปฐมฌาน เมื่อพระชนม์ 7 พรรษา ปฐมญาณในวัย ๗ พรรษา ในภาพ พระราชกุมารสิทธัตถะทรงเจริญฌาณ ได้บรรลุถึงขั้นปฐมณาน เกิดฤทธิ์ทางใจ อันเกิดจากการหลุดพ้นแห่งจิตที่เป็นณาน ทรงแผ่กสิณไปกำหนดให้เกิดเงาของร่มหว้าดุจเงาตอนเที่ยงพระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นเป็นมหัศจรรย์ ได้ถวายบังคมพระโอรสเป็นครั้งที่ ๒



ภาพที่ 12 พระราชกุมารสิทธัตถะช่วยชีวิตหงส์ที่บาดเจ็บจากศรของเจ้าชายเทวทัตต์
น้ำพระทัยเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อวัย ๑๒ พรรษา ในภาพ แสดงถึงการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องหงส์ระหว่างเจ้าชายสัทธัตถะที่ประทับอยู่บนพระราชอาสน์ ทรงสวมภูษิตอาภรณ์สีน้ำเงินในอาการที่สงบสำรวม มีหงส์ซึ่งได้รับบาดเจ็บและเจ้าชายเทวทัตต์ที่ทรงถือศรเป็นอาวุุธประหารสัตว์นั้น ส่วนพรหมณ์ปุโรหิตนั่งอาสนะพิพากษาตัดสินว่าหงส์เป็นสิทธิ์ของเจ้าชายผู้ให้ชีวิตรอด



ภาพที่ 13 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสวยสุขในปราสาท ๓ ฤดู คือ
ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ปราสาทเหล่านั้น มีชื่อว่า รมยปราสาท สุรมยปราสาท และ สุภปราสาท ตามลำดับ เจ้าชายสัทธัตถะทรงเสวยสุขในปราสาท ๓ ฤดู ในภาพ เสดงถึงพระโพธิสัตว์เสวยสุขสมบัติในปราสาทหนึ่งในฤดูร้อน ทรงได้รับการบำเรอด้วยหมู่สตรีงามที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ฟ้อนรำ ขับกล่อมด้วยการขับร้องและเล่นดุริยดนตรีอันประณีตพระโพธิสัตว์ประทับเอนพระวรกายอยู่บนพระแท่นขณะเสวยกามสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง และผัสสะ ที่พระราชบิดาประสงค์จักให้เป็นเจ้าชายทรงยึดติดอยู่แต่ในสิ่งที่งดงาม ยินดี และน่าลุ่มหลง อันเป็นเหตุที่จะให้ครองฆราวาส เป็นพระบรมมหาจักรพรรดิราช



ภาพที่ 14 เจ้าชายสิทธัตถะทรงประลองการยิงธนูที่มีน้ำหนักมาก
มีชื่อว่า สหัสสถามธนู ซึ่งใช้คน 1000 คนจึงยกขึ้นได้ พระโพธิสัตว์ทรงประลองศิลปศาสตร์การยิงธนู ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงยืนแสดงการยิงธนูพุ่งจากแหล่งไปยังขนหางจามรีในเวลาพลบค่ำ เป็นอัจฉริยภาพความสามรถพิเศษที่มิได้มีในบุคคลทั้วไป ในการสำแดงศิลปศาสตร์การยิงธนูอย่างพิเศษประเสริฐยิ่งนี้ กระทำในทามกลางหมู่พราหมณ์คหบดี ทำให้เกิดความปลาบปลื้มยินดีว่า พระองค์ทรงเป็นมหาบุรุษผู้จะทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิราชได้



ภาพที่ 15 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเลือกพระนางพิมพาเป็นพระชายา
ด้วยการพระราชทานสร้อยพระศอ พระโพธิสัตว์ทรงเลือกคู่ ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จประทับบนบัลลังก์ มีหมู่สตรีที่ไเดินผ่านพระพักตร์ และพระนางพิพาที่ได้รับซองพระราชทานรางวัลเป็นสร้อยพระศอเป็นคนสุดท้าย ซึ่งต่อมาได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครมเหสี



ภาพที่ 16 เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยาน
ทอดพระเนตรนิมิต 4 ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย และบรรพชิต พระโพธิสัตว์เสด็จประพาสอุทยาน พบนิมิตร ๔ ในภาพ แสดงการได้พบเห็นนิมิต ๔ ในการประพาสอุทยานหลวง โดยเทพยดานิรมิตขึ้นเพื่อให้พระโพธิสัตว์ทรงเกิดปัญญาเห็นอย่างลึกซึ้ง รูปบรรพชิตเป็นรูปสุดท้ายที่ทรงยึดถือเอาว่าเป็นรูปนิมิตที่น้อมอารมณ์ไปสู่ความสงบสุข เป็นหนทางหนึ่งของการค้นหาความจริงในทุกข์ที่มนุษย์ได้เผชิญอยู่



ภาพที่ 17 เจ้าชายสิทธัตถะทรงสดับคำนิมิต "นิพพาน" 
จากพระนางกีสาโคตมี พระโพธิสัตว์ได้คำนิมิต "นิพพาน" ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชนิเวศน์พร้อมหมู่อำมาตย์ ส่วนขัตติยนารีที่ประทับอยู่่ช่องพระบัญชรคือ พระนางกีสาโคตมี ผู้กล่าวคำอุทานชมพระสิริโฉมของพระโพธิสัตว์



ภาพที่ 18 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกามคุณ ๕ 
ทรงเห็นพระสนมมีอาการน่ารังเกียจ พระโพธิสัตว์ทรงเบื่อหน่ายกามคุณ ๕ ในภาพ พระโพธิสัตว์ประทับอยู่บนบัลลังก์ เมื่อตื่นแล้่วทรงเห็นสนมมีอาการน่ารังเกียจ ความสลดสังเวชก็เกิดขึ้นทำให้การปลุกเร้าเกิดพุทธภาวะมากขึ้น และทรงคิดหาหนทางพ้นทุกข์ ภาพนางสมน ๕ คน มีความหมายว่าเป็นกามคุณ ๕ อันเป็นกามฉันทะ ส่วนม้ากัณฐกะที่ยืนนั้นตื่นตัวอยู่ เป็นนิมิตว่าจะทรงได้คิดในการเสด็จลอบออกจากพระราชวังไปผนวช



ภาพที่ 19 พระโพธิสัตว์ทรงตัดสินพระทัยจะออกผนวช 
ขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา วันเดียวกับที่พระโอรสราหุลประสูติ พระโพธิสัตว์ทรงตัดสินพระทัยจะออกบวช ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จยืนอยู่หน้าธรณีพระทวารประตูห้องพระบรรทมยโธราพิมพา ทรงทัศนาพระโอรสอย่างเพ่งพินิศ แล้วได้ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช โดยเวลานั้นเป็นเวลาเที่ยงคืนของวันเพ็ญ เดือน ๘ ขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา



ภาพที่ 20 พระโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชโดยประทับบนหลังม้ากัณฐกะ
พร้อมกับนายฉันนะ และมีเหล่าเทพตามเสด็จ เสด็จมหาภิเนษกรมณ์ ในภาพ เป็นขบวนออกบวชของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ พระองค์เสด็จประทับหลังพญาม้ากัณฐกะเหาะไปทางอากาศ เป็นอภินิหาร มีความหมายว่าทรงข้ามโอฆสงสาร หรือการข้ามสังสารวัฎ ประมุขเทพอันมีพระอินทร์ถวายการถือฉัตรกั้น และท้าวมหาพรหมชื่อฆฎิการพรหมทรงถือเครื่องอัฐบริขารเหาะเสด็จไปเบื้องหน้า ที่มุมบนของภาพมีพระยามาร ชื่อวัสสวดีมารคอยติดตามขัดขวางด้วย


ภาพที่ 21 พระโพธิสัตว์ตัดพระเมาลีอธิษฐานเพศเป็นนักบวช 
พระอินทร์และพระพรหมเสด็จมารับมวยพระเกศา เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ เทวโลก ตัดพระเมาลีอธิษฐานเพศเป็นนักบวช ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงกระโดดขึ้นประทับบนเนินทรายอธิษฐาน เพศเป็นนักบวชโดยตัดพระเมาลี และวตรัสสั่งให้นายฉันนะนำเครื่องทรงบางส่วนพร้อมม้ากัณฐกะกลับไปยังพระนคร พระอินทร์และพราหมณ์เสด็จมารับมวยพระเกศาและผ้าทรงไปประดิษฐานยังเทวโลก


ภาพที่ 22 พระโพธิสัตว์ทรงบิณฑบาตรและฉันในบาตรเป็นครั้งแรก
ทรงบิณบาตครั้งแรก ในภาพ แสดงถึงการฉันข้าวในบาตรครั้งแรกของพระโพธิสัตว์ ในอาหารปนเปคลุกเคล้ากันเป็นอาหารชาวบ้าน ซึ่งทรงเตือนสติตนเองว่าการที่ภิกษุบิณฑบาตรได้อาหารก็เพื่อให้มีชีวิตอยู่ การค้นพบคือการตรัสรู้ยิ่งในความจริงนั้นสำคัญยิ่งกว่าจึงควรรักษาชีวิตไว้และยินดีในการที่จะฉันอาหารนั้น


ภาพที่ 23 พระโพธิสัตว์ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุททกดาบส 
รามบุตร อาจารย์ผู้สอนสมาบัติ ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ศึกษาธรรมลัทธิในสำนักอาฬารกาลามดาบส และอุททกรามบุตรดาบส ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงเลือกเขาศึกษาในสำนักครูที่มีชื่อเสียงในราชคฤห์ เพื่อศึกษาธรรมลัทธิสำหรับเป็นอุบายธรรม ทรงเข้าศึกษาในสำนักอาฬารกาลามดาบสเป็นสำนักแรก ซึ่ง เน้นการปฏิบัติทางบำเพ็ญจิตโดยเจริญสมาธิเกิดณานสมาบัติ ๗ แล้วทรงศึกษาต่อในสำนักอุททกรามบุตรสำเร็จสมาบัติ ๘ ทรงศึกษาปฏิบัติได้เทียนบเท่าครู แต่ทรงเห็นว่าน่าจะมีหนทางในวิธีปฏิบัติให้บรรลุได้ยิ่งกว่า จึงเสด็จไปบำเพ็ญตบะด้วยตนเองตามลำพัง


ภาพที่ 24 พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยวิธีการต่างๆ 
ตลอด 6 ปี โดยมีหมู่ปัญจวัคคีย์คอยเฝ้าปรนนิบัติ บำเพ็ญอย่างอุกฤษฎ ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงกระทำความเพียรอุกฤษฎ์จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง มีหนังติดกระดูก ลักษณะมหาปุริสลักษณะหายไป หมู่ปัญจวัคคีย์ที่คอยเฝ้าปรนนิบัติอยู่เชื่อว่าพระองค์จะทรงบรรลุ ในที่สุดทรงค้นพบว่าวิธีปฏิบัตินี้เป็นทางสุดโต่ง ทำให้ตนเองลำบากไม่ใช่หนทางพ้นทุกขน์ทรงพบว่าควรปฏิบัติเป็นทางสายกลาง คือไม่ตกไปทางใดทางหนึ่ง


ภาพที่ 25 พระโพธิสัตว์ทรงสดับพิณ 3 สายที่เทวดาดีดถวาย 
แล้วทรงวินิจฉัยว่า สายที่ 1 ตึงเกินไปดีดไม่นานก็ขาด สายที่ 2 หย่อนเกินไปดีดไม่มีเสียง สายที่ 3 ขึงได้พอดีดีดได้ไพเราะ ทรงระลึกถึงความพอดีอันเป็นทางสายกลางว่าอาจนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นได้นิมิตทางสายกลาง ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงใสยาสน์ เป็นนิมิตว่าหากจะทรงปฏิบัติเคร่งอย่างอุกฤตก็จะทรงสิ้นชีวิตไปอย่างสูญเปล่า ทรงได้ปัญญาจากนิมิตทางสายกลางโดยพระอินทร์ราชเจ้าทรงดีดพิณเป็นนัยว่า ความไม่หย่อน ไม่ตึงในการปฏิบัติ โดยอบรมกายอินทรีย์็และการบำเพ็ญจิตนั้นต้องสมดุลและเมื่ออินทรีย์แก่กล้าแล้วเจริญวิปัสสนาจึงจะนำไปสู่การตรัสรู้


ภาพที่ 26 พระโพธิสัตว์ทรงพระสุบินนิมิต 5 ประการ
ที่พระโพธิสัตว์ได้เกิดนิมิตขึ้นคืนก่อนจะได้ตรัสรู้เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้า และทรงตั้งศาสนาขึ้น


ภาพที่ 27 พระโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา โดยนาง
ได้หุงข้าวด้วยนมวัวที่เตรียมจากแม่วัว 1000 ตัว พระโพธิสัตว์ทรงรับการถวายข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ในภาพ พระโพธิสัตว์ประทับใต้โคนไม้ไทร ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ซึ่งนางได้ถวายไปพร้อมถาดทอง ส่วนสาวใช้ชื่อปุณณาซึ่งนั่งอยู่ข้างหลัง เมื่อนางสุชาดาได้ทำพลีกรรมเสร็จแล้ว นางยกย่องแต่งตั้งให้เป็นน้องสาว


ภาพที่ 28 พระโพธิสัตว์ทรงลอยถาดทอง (ที่ทรงรับจากนางสุชาดาพร้อมกับข้าวมธุปายาส) 
อธิษฐานเสี่ยงทายการตรัสรู้ว่าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขอให้ถาดทองนั้นลอยทวน กระแสน้ำ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิฐานเสียงทายการตรัสรู้ ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่ออธิษฐานเสี่ยงทายการตรัสรู้โดยลอยถาดทองคำ ถาดทองนั้นแล่นทวนกระแสเป็นนิมิตความหมายว่า "ได้ตรัสรู้" เพื่อนำไปแก้ปัญหาความพ้นทุกข์ คือการข้ามพ้นไปจากการเวียนเกิดเวียนตาย (นิพพาน)


ภาพที่ 29 พระโพธิสัตว์ทรงรับหญ้าคา 8 กำ จากโสตถิยะพราหมณ์
ในเวลาเย็นของวันเพ็ญเดือนหก ทรงรับการถวายหญ้ากุสะ ๘ กำจากโสตถิยพราหมณ์ ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงรบหญ้ากุสะ ๘ กำ (ฟ่อน) จากโสตถิยพราหมณ์ และนำไปอธิษฐานเป้นรัตนบัลลังก์ยังทิศตะวันออกของโคนไม้มหาโพธิพฤกษ์


ภาพที่ 30 พระโพธิสัตว์ทรงผจญพญามาร ทรงชนะมารด้วยทศบารมี
ที่ทรงบำเพ็ญมานับประมาณไม่ได้ ทรงผจญมารและพิชิตมาร ในภาพ พระโพธิสัตว์ประทับ ณ รัตนบัลลังก์ใต้ร่มมหาโพธิพฤกษ์ทรงอ้างถึงทศบารมีที่กระทำมานับไม่ถ้วน พระแม่ธรณีสุนทรีย์ทรงบีบมวยผมปรากฏน้ำไหลออกมาท่วมหมู่มารให้พ่ายแพ้ ส่วนพญามารมีจิตโกรธเป็นสีแดง แต่ด้วยพระโพธิสัตว์ทรงพระปัญญาและทศบารมีจึงทำให้มารนั้นแพ้พ่ายไปในที่สุด



ภาพที่ 31 พระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ 
สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกของโลก ในวันเพ็ญเดือนหก ทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุธเจ้า ในภาพ หลังทรงตรัสรู้แล้วประทับ ณ รัตนบัลลก์ใต้ร่มมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเสวยสุขอันประณีต ๑ สัปดาห์ฺนับเป็นกาลสมัยอับัติขึ้นของพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าพระศรีศากยโคดมพุทธเจ้า



ภาพที่ 32 ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงพระธรรมโปรดสัตว์โลก ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม

ในภาพ พระพุทธเจ้ารับอาราธนาแสดงธรรมในท่าประทานพรพิจารณาหมู่เวไนยสัตว์แล้ว




ภาพที่ 33 พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหมู่เวไนยสัตว์ที่สามารถรู้
ตามธรรมที่ทรงแสดงได้ เปรียบประดุจบัว 4 เหล่า ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ ๔ ผู้จะรองรับพระสัทธรรมได้
ในภาพ พระพุทธองค์ได้ทรงเพ่งพินิจไปยังบัวที่อยู่ริมน้ำ เป็นสัญลักษณ์ของหมู่เวไนยสัตว์ ๔ เหล่าที่ทรงจะได้มีพุทธกิจเสด็จไปโปรด


ภาพที่ 34 พระพุทธองค์ทรงรับไม้สีพระทนต์และผลสมอจาก
ท้าวสักกเทวราช ทรงอธิษฐานบาตรสี่ใบจากท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ให้เป็นใบเดียว ทรงอธิษฐานบาตร ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงออกจากณานสมาบัติในวันที่ ๔๙ ขณะนั้นประทับอยู่ใต้ร่มเกด พระอินทร์ได้นำไม้สีพระทนต์ และผลสมอมาถวายส่วนท้าวจตุโลกบาลที่กำลังเสด็จเหาะมา ได้นำบาตรแก้วอินทนิลมาถวาย



ภาพที่ 35 พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 
พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นอริยสาวกองค์แรก ในพระพุทธศาสนา ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกในหมู่ปัญจวัคคีย์ โกณฑัญญะบรรลุเป็นพระอริยสาวกองค์แรก นั้่งอยู่ด้านขวาของพระพุทธเจ้า



ภาพที่ 36 พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดยสะ 
และบิดามารดาของยสะ โปรดยสะกุลบุตร ในภาพ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรด ยสะ บิดา มารดา ของยสะ โดยได้กำลังกายยสะไว้ ยสะได้ฟังธรรมรอบที ๒ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ต่อมาขอบวชพร้อมสหาย ๔๕ คน เมื่อบวชแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น



ภาพที่ 37 พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดยักษ์ชื่ออาฬวก
โปรดอาฬวกยักษ์ ในภาพ พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดยักษ์ชื่ออาฬวกยักษ์ เป็นนัยความหมายว่่า ทรงล้างความเห็นผิดของชนพื้นเมืองขณะนั้นที่นับถือในศาสนาเทพศิวะ 

มีพิธีเซ่นสังเวยมนุษย์เป็นพลีกรรม ซึ่งการฆ่าเป็นอกุศลอย่างยิ่ง เป็นมิจฉาทิฎฐิ



ภาพที่ 38 พระพุทธองค์โปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร 
ที่ตำบลคยาให้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ 1000 รูป โปรดชฎิล ๓ พี่น้องที่ตำบลคยา ในภาพ เมื่อชฎิลผู้น้องที่อยู่ระหว่างกลางแม่น้ำและปลายแม่น้ำทราบว่าผู้พี่บวช ในสำนักพระพุทธองค์แล้ว โดยเห็นเครื่องบริขารของชฎิลลอยตามน้ำมา จึงได้ชักชวนกันไปบวชตามผู้ี่ยังสำนักพระพุทธเจ้า 



ภาพที่ 39 พระพุทธองค์แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
และข้าราชบริพาร พระอุรุเวลกัสสปเถระแสดงฤทธิ์และประกาศ ความเป็นพระสาวกของพระพุทธองค์
โปรดพระเจ้าพิมพิสารและบริวารที่สวนตาลหมุ่ม ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานหมู่สงฆ์สาวก ทรงตั้งอยู่ในฐานะพระศาสดาอุรุเวลกัสสปเถระได้ทรงแสดงฤทธิ์ยืนยันในความเป็นพระสาวก ทำให้พระเจ้าพิมพิสารศรัทธาในพระพุทธเจ้า



ภาพที่ 40 พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนหลวงเวฬุวันเป็นสังฆาราม
แห่งแรกแด่คณะสงฆ์ พระเจ้าพิมพิสารถวายเวฬุวันเป็นสังฆารามแห่งแรก ในภาพ พระเจ้าพิมพิสารทรงถือสุวรรณภิงคาร หลั่งอุทกะาราลงบนพระหัตถ์พระพุ่ทธเจ้า ถวายที่ดินคือสวนหลวงเวฬุวสันให้เป็นที่ตั้งเสนาสนะแด่คณะสงฆ์เป็นแห่งแรก และได้มีการถวายตัวเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา



ภาพที่ 41 พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระสารีบุตรเถระ ณ ถ้ำสุกรขาตา 
เชิงเขาคิชฌกูฏ ทรงได้พระอัครสาวกคู่ ในภาพ พระพุทธเจ้าเสด็จไปโดยฤทธิ์เพื่อโปรดพระสารีบุตรซึ่งได้บรรลุช้า ขณะที่ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำหมูขุดที่เชิงเขาคิชฌกูฎ ใกล้ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ณ นครราชคฤห์

ภาพที่ 42 พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์
ปักษ์ละ 1 ครั้ง คือ ทุก 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ทรงบัญญัติสิกขาบทให้ลงสวดพระปาฎิโมกข์ครั้งแรก
ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานนำสวดญัตติอุโบสถกรรมเป็นครั้งแรก ซึ่งกำหนดเป็นสิกขาบทให้ลงสวดทุกกึ่งเดือนระหว่างเข้าพรรษา การลงสวดครั้งแรกนี้ พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์และอยู่ในที่ประชุมด้วย


ภาพที่ 43 พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรเถระเป็นพระอัครสาวก
ฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเถระเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย ทรงแต่งตั้งพระอัครสาวกคู่บริหารคณะสงฆ์

ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงแสดงกิริยาชี้พระหัตถ์ ไปที่พระอัครสาวกมีความหมายว่า ทรงได้แต่งตั้งให้พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา (ชี้ด้านขวา) พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย (ชี้ด้านซ้าย) 

ภาพที่ 44 วันจาตุรงคสันนิบาต 
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม “โอวาทปาติโมกข์” ในวันนี้ วันจาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 
1) พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า 
2) พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ได้อภิญญา 6 คือหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น และทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป 
3) พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกัน โดยมิได้มีการนัดหมาย 
4) พระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ (วันเพ็ญกลางเดือน 3) ในภายหลังเรียกว่า วันมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสัจจธรรมให้โอวาทแก่พระอรหันต์ในที่ประชุม ๑,๒๕๐ องค์ โดยแสดงด้วยเครื่องหมายพระหัตถ์ที่นิ้ว (๔ นิ้วที่ยกขึ้น) วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือน ๓ พระอรหันต์ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย เป็นอัศจรรย์



ภาพที่ 45 พระกาฬุทายีเถระนำบิณฑบาตจากพระราชนิเวศน์
กรุงกบิลพัสดุ์ ที่พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาจัดถวาย เหาะไปถวายพระพุทธองค์ระหว่างเส้นทางเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นประจำทุกวัน กาฬุทายีเถระถวายบาตร ในภาพ พระกาฬุทายีเถระได้เหาะไปบิณฑบาตในพระราชวังหลวง แล้วนำบาตรที่พระราชบิดาใส่มาถวายพระพุทธเจ้า เป็นเหตุการณ์ระหว่างเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์



ภาพที่ 46 พระพุทธองค์กำลังเสด็จเดินจงกรมในเวลาจวนสว่าง 
เมื่อทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระองค์เสด็จลง จากที่จงกรมแล้วตรัสเรียกว่า มานี่เถิด สุทัตตะ ครั้นแล้วทรงแสดง อนุปุพพิกถาให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม สุทัตตะเข้าเผ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก ในภาพ สุทัตตะหรืออนาถบิณฑิกเศรษฐีได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่ป่าสีตวัน ซึ่งทรงเดินจงกรมอยู่ ในการเข้าเฝ้าครั้งแรกนี้ทำให้สุทัตตะเข้าถึงพระสัจจธรรมแล้วถวายตนเป็นอุบาสก



ภาพที่ 47 พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฎิหาริย์ในที่ประชุมหมู่พระญาติ 
ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อให้หมู่พระญาติสิ้นทิฏฐิมานะ ถวายบังคมพร้อมกัน อิทธิปาฎิหารย์ในที่ประชุมหมู่พระญาติที่กบิลพัสตุ์ ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฎิหารย์ปราบทิฎฐิมานะ ของเหล่าพระประยูรญาติ รวมทั้งพระพุทธบิดา โดยเสด็จเหาะไปเดินจงกรมบนอากาศ แล้วทำให้ฝุ่นธุลีตกลงบนพระเศียร ในครั้งนั้นเกิดฝนโบกขรพรรษตกเป็นมหัศจรรย์



ภาพที่ 48 พระพุทธองค์เสด็จบิณฑบาตรในกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมหมู่สงฆ์ 
พระเจ้าสุทโธทนะตรัสว่าผิดธรรมเนียมของกษัตริย์ขัตติยวงศ์ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่ามิใช่ธรรมเนียมของขัตติยวงศ์ก็จริง แต่เป็นธรรมเนียมของพุทธวงศ์ เป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธองค์ประทับยืนตรัสพระธรรมเทศนาแก่พระเจ้าสุทโธทนะ พอจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงบรรลุโสดาปัตติผล ในขณะที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง เสด็จบิณฑบาตชานเมืองราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จบิณฑบาตซานกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมพระสาวก 2.000 รูป พระบิดาสุทโธทนะเสด็จไปตัดพ้อติเตียนความประพฤติภิกขาจาร (บิณฑบาต) พระพุทธองค์ตรัสว่า “เป็นพุทธประเพณี”ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต



ภาพที่ 49 พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระนางพิมพาและพระราหุลราชกุมาร
เสด็จไปโปรดพิมพาเทวีและราหุล พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพาและราหุลที่พระตำหนักพร้อมสาวก ครั้งนั้นพระพุทธบิดาเสด็จนำไป พระพุทธองค์ทรงแสดงเทศนาโปรดพิมพาเรื่อง “จันทกินรีชาดก” อันเป็นเรื่องคุณความดีของพระนางในอดีตชาติที่มีคุณต่อพระองค์ 



ภาพที่ 50 พระพุทธองค์ทรงโปรดให้บวชพระนันทราชอนุชา และให้
พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาให้พระราหุล เป็นสามเณรรูปแรกในพระศาสนา

ทรงบวชเจ้านันทะและพระโอรสราหุล พระพุทธเจ้าประทับอยู่นิโครธาราม ๒ เดือน ให้ครั้งนั้นทรงบวชให้พระนันทราราชอนุชา และให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชให้พระราหุลเป็นสามเณร (อนุสัมปัน) รูปแรกในพระศาสนา



ภาพที่ 51 เจ้าชายแห่งศากยวงศ์ ทั้ง 6 พระองค์ อันได้แก่ ภัททิยะ อนุรุทธะ 
อานนท์ ภัคคุ กิมพิละ และเทวทัต พากันออกบวช หมู่เจ้าชายศากยะทั้ง ๖ ออกบวชตามเสด็จ หมู่เจ้าชายศากยะทั้ง ๖ และอุบาลีขอบวชตามเสด็จพระพุทธองค์ทรงให้บวชโดยคณะสงฆ์มีอุปัชฌาย์ ในการบวชครั้งนี้พระอุบาลีได้บวชก่อนอาวุโสโดยเวลา



ภาพที่ 52 พระพุทธองค์เสด็จโปรดพระราชบิดาที่ประชวรหนัก 
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจนพระบิดาได้บรรลุอรหัตตผล โปรดพระราชบิดาขณะประชวร พระพุทธเจ้าโปรดพระราชบิดา ๗ วันจึงทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน พระอานนท์ พระราหุล พระมหาปชาบดีและเหล่าพระประยูรญาติห้อมล้อมดูอาการประชวรอยู่ใกล้ๆ


ภาพที่ 53 พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นเหนือเรือนเศรษฐีผู้ประกาศ
ท้าทายให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตรไม้จันทร์แดงที่แขวนบนยอดไม้ พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้ว ทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงอุตตริมนุสสธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามการแสดงฤทธิ์ พระบิณโฑรภารทวาชะเหาะไปเอาบาตรไม้แก่นจันทร์นาถวาย พระพุทธเจ้าทรงตำหนิติเตียน และกำหนดเป็นพระวินัยในที่ประชุมสงฆ์ว่า ห้ามภิกษุแสดงฤทธิ์และห้ามใช้บาตรไม้ ผู้ใดทำ ผิดวินัยสงฆ์


ภาพที่ 54 พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล 
ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์ ยมก แปลว่า คู่หรือสอง ยมกปาฎิหาริย์ คือ การแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ เช่น น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออก จากพระวรกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระวรกาย เบื้องล่าง เป็นต้น และมีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ได้ มูลเหตุที่ทรงแสดงคือ เพราะพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธเจ้า แข่งแสดงปาฎิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี พระพุทธเจ้าเจ้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ยมกปาฎิหาริย์บนต้นมะม่วง หมู่ครูทั้ง ๖ ด้านซ้ายมือมีอาการตกใจ พ่ายแพ้ในอำนาจฤทธิ์ หมู่ชาวพุทธด้านขวามือเกิดความเลื่อนใสศรัทธาตั้งมั่นในพระศาสนายิ่งขึ้น


ภาพที่ 55 พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 
โปรดสมเด็จพระพุทธมารดาที่เสด็จมาจากดุสิตสวรรค์ พร้อมด้วยหมู่พรหมและ เทวดาทั้งหลายจากหมื่นโลกธาตุ เพื่อฟังพระอภิธรรมตลอดระยะเวลา 3 เดือน โปรดพุทธมารดราที่ภพดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาที่เสด็จมาจากภพดุสิตสวรรค์เป็นพิเศษ ณ ภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นทิพยสมบัติของท้าวอมรินทราธิราช ที่แสดงด้วยไพชยนต์ปราสาท ธรรมสภาศาลาและต้นปาริฉัตร


ภาพที่ 56 พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูปเหาะไปสู่เทวโลก 
พญานันโทปนันทนาคราชเห็นเข้าก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะ จึงบันดาลขดกายใหญ่พันรอบเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานปิดพิภพดาวดึงส์ พระพุทธองค์อนุญาตให้พระโมคคัลลานะไปปราบ ทั้งสองฝ่าย ต่างแสดงฤทธิ์ต่างๆ มากมาย ภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์พระเถระ แล้วถือ พระพุทธเจ้าและพระเถระเป็นสรณะ ด้วยเหตุที่แม้พระอรหันต์รูปอื่นอาจจะทำปาฏิหาริย์ได้ แต่การเข้า-ออกจตุตถฌานอย่างชำนาญไม่ติดขัดเหมือนพระมหาโมคคัลลานะเถระ ไม่ใช่ทำได้ง่าย นี่จึงเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเฉพาะพระมหาโมคคัลลานะเถระเท่านั้น ความสามารถในการเข้าฌานได้อย่างฉับพลันเหมือนในการที่ท่านมหาโมคคัลลานะทรมานพญานันโทปนันทนาคราช ชื่อว่า สมาปัชชนวสี โปรดนันโทปนันทนาค พระโมคคัลลานะได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้า อาสาแสดงฤทธิ์ปราบพญานันโทปนันทนาค โดยนฤมิตกายเป็นพญาครุฑปราบพยศพญานาค และมาเฝ้าพระพุทธเจ้าโปรดให้ตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย


ภาพที่ 57 พระพุทธองค์เสร็จลงจากภพดาวดึงส์
หลังจากแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอด 3 เดือน ทรงเปิดโลกให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ได้มองเห็นกัน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ “โลกรวิวรรณ” พระพุทธเจ้าประทับจงกรมบนอากาศ มีพระรัศมีเป็นปริมณฑล ทรงแสดงกิริยาพระหัตถ์เปิดโลกให้พุทธบริษัทได้เห็นภพสูงภพกลาง และภพต่ำ
เพื่อให้ชนเหล่านั้นตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทศรัทธาในพระรัตนตรัย


ภาพที่ 58 พระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ถวายผ้าจีวร 500 ผืน แด่พระอานนท์ 
พระอานนท์ถวายผ้าเหล่านั้นต่อไปยังภิกษุผู้มีจีวรเก่า ภายหลังพระนางสามาวดีถูกเพลิงเผาพร้อมบริวาร เพราะเป็นวิบากกรรมเก่าที่เคยใช้ไฟเผาพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เข้าสมาบัติ แต่เหตุที่พระนางและบริวาร
บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว การตายของท่านเหล่านั้นจึงเรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย
พระนางสามาวดีถวายผ้ารัตนกัมพล พระนางสามาวดีพุทธสาวิกาพร้อมเพื่อถวายผ้ารัตนกัมพลแด่พระอานนท์ พระนางและข้ารับใช้ผู้ภักดีถูกเผาในกองเพลิง (ข้างล่าง) พระพุทธเจ้าได้แสดงถึงเหตุแห่งกรรมของบุคคลในที่ประชุมสงฆ์ (บน)


ภาพที่ 59 พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธที่พระเทวทัตทูลขอเป็นประมุขปกครองสงฆ์ 
และเป็นชนวนเหตุของสังฆเภทในเวลาต่อมา พระเทวทัตต์ทูลขอเป็นประมุขปกครองสงฆ์
พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาอยู่ที่โฆษิตาราม เมืองโกสัมพี พระเทวทัตต์เกิดริษยาว่าพระพุทธเจ้ามิได้ยกย่องตนให้เป็นใหญ่ในหมู่สงฆ์ แม้ตนเป็นพระภิกษุสาวกฝ่ายศากยราศได้เข้าเฝ้าทูลขอเป็นใหญ่ปกครองสงฆ์แทนพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทังปฎิเสธ แล้วเป็นชนวนก่อเหตุสังฆเภทในเวลาต่อมา


ภาพที่ 60 พระพุทธองค์ต้องบริโภคข้าวเหนียวอยู่ 3 เดือน เพราะพราหมณ์นิมนต์
ไปจำพรรษาเมืองเวรัญชรา แล้วลืมถวายอาหาร พระองค์ได้อาศัยพวกพ่อค้าม้าถวาย ข้าวแดง ซึ่งอาจเป็นข้าวเหนียวแดงสำหรับให้ม้ากิน ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมเก่าของพระองค์ ทรงบัญญัติสิกขาบทให้ภิกษุแบ่งปันปัจจัย พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาอยู่โคนไม้สะเดา ปีนั้นเกิดความแห้งแล้ง ทรงอยู่ด้วยความลำบาก โดยฉันข้าวเหนียวแดงของพ่อค้าม้า ส่วนภิกษุได้ภิกขาจารอาหารโดยลำบาก ปีนั้นทรงบัญญัติพระวินัยให้เหล่าภิกษุดูแลช่วยเหลือกันให้ปัจจัยอาหารและยา พราหมณ์เวรัญชราและภรรยาเป็นผู้ขอให้เสด็จจำพรรษาแต่ลืม ภายหลังได้ขอขมา



ภาพที่ 61 โปรดพระยามหาชมพูบดี (โปรดทราบว่าเป็นเรื่องในพระสูตร นอกพระไตรปิฎก)
โปรดพระยามหาชมพูบดี พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องการรุกรานของพระยามหาชมพูบดีพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระยามหาชมพูบดี โดยนิรมิตกายเป็นพระมหาจักรพรรดิที่มีพลานุภาพยิ่งกว่า และทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรด ทำให้ละมิจฉาทิฎฐิและเข้าถึงพระโสดาปัติผลพร้อมทรงพยากรณ์ว่าอนาคตจะเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ภาพที่แสดงเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องที่นำมารวมเป็นภาพเดียวกัน


ภาพที่ 62 พระพุทธองค์ประทับที่พระเชตวันมหาวิหารในพรรษาแรก 
มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย อนาถบัณฑิกเศรษฐีถวายสังฆารามมหาเชตะวันวิหาร สุทัตตะหรืออนาถเศรษฐี มหาอุบาสกผู้เลิศในทางถวายทาน ได้ถวายที่ดินและอาคารเสนาสนะต่อคณะสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาทรงรับถวายสุทัตตะได้หลั่งน้ำจากลงบนฝ่าพระหัตถ์พระพุทธเจ้าแสดงการอุทิศถวายวัดแล้วต่อคณะสงฆ์


ภาพที่ 63 พระพุทธองค์ปฏิเสธการรับผ้าทอที่ประณีตคู่หนึ่ง
จากพระนางมหาปชาบดี แต่ให้ถวายแด่สงฆ์เพื่อให้ได้รับอานิสงค์ ที่มากกว่า แต่ก็ไม่ปรากฏว่าพระอรหันต์รูปใด จะรับไว้ ผ้านั้น ตกอยู่กับพระอชิตะที่เพิ่งบวชใหม่ พระนางมหาปชาบดีทรงเสียพระทัย อย่างมาก พระพุทธองค์ทรงแก้ไขให้พระนางคลายโทมนัส โดยอธิษฐานบาตรให้หาย ไปในอากาศ ไม่มีสาวกอรหันต์รูปใด นำกลับมาได้เว้นแต่พระอชิตะที่เพิ่งบวชใหม่รูปนั้น ซึ่งมีพุทธพยากรณ์ ภายหลังว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปในภัทรกัปป์นี้ พระนางจึงปีติปรีดาปราโมทย์เป็นยิ่งนัก มหาปชาบดีถวายผ้าสาฎกคู่แด่พระพุทธเจ้า พระนางมหาปชาบดีทรงถวายผ้าสาฏกคู่เจาะจงต่อพระพุทธเจ้า 
พระองค์ทรงปฏิเสธ ทรงอธิบายหลักการถวายทานที่บริสุทธิ์พระนางได้ถวายแก่พระอชิตะที่เป็นพระบวชใหม่ พระพุทธองค์ได้แสดงอภินิหารโยนบาตรเพื่อให้ทราบว่าได้ทรงถวายผ้าสาฎาแด่พระพุทธเจ้าในอนาคต


ภาพที่ 64 พระพุทธองค์ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี ช้างพระที่นั่งกำลังซับมัน
ดุร้าย ซึ่งพระเทวทัตให้ปล่อยมา เพื่อทำอันตรายพระชนม์ชีพพระบรมศาสดา ให้สงบลงด้วยพระเมตตา
โปรดช้างนาฬาคีรี พระพุทธเจ้าและพระพระอานนท์ได้เสด็จบิณฑบาตภิกขาจารชาวกรุงราชคฤห์
พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปล่อยช้างเมามันที่ชื่อนาฬาคีรีให้ไปทำร้ายพระพุทธเจ้า โปรดช้างคืนสติได้ด้วยพุทธานุภาพ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาวเมืองทราบว่าพระเทวทัตต์เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง


ภาพที่ 65 พระเทวทัตทำสังฆเภทยุยงให้สงฆ์แตกกัน พาภิกษุใหม่ชาววัชชี 500 
และพระมหาโมคคัลลานะไปนำภิกษุเหล่านั้นกลับมา พระสารีบุตรนำพระเสขะชาววัชชีกลับสังฆมณฑล
พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาได้รับบัญชาจากพระพุทธเจ้าให้ไปเกลี้ยกล่อมภิกษุผู้อยู่ระหว่างศึกษา (พระเสขะ) ที่หลงผิดไปตั้งสำนักใหม่กับพระเทวทัตต์จำนวน ๕๐๐ พระสารีบุตรได้แสดงธรรมโอวาทจนภิกษุเหล่านั้นเข้าใจและติดตามกลับสังฆมณฑลที่เวฬวัน


ภาพที่ 66 พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้
ช่างกัลบกปลงพระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากยขัตติยนารี เป็นบริวารประมาณ 500 พระองค์ (นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไป ก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต จึงเสด็จออกมายืน ร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตู พระอานนท์ผ่านมาพบจึงสอบถาม ทราบความ โดยตลอดแล้ว พระเถระเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า ถ้าสตรีบวช ในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ พระอานนท์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุง เลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด 

พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าปชาบดีโคตมีรับประพฤติครุธรรม 8 จึงจะอนุญาต ให้บวชได้ พระอานนท์นำครุธรรม 8 ประการมาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้สดับแล้วยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบท ให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัตติยนารีที่ติดตามมา ด้วยทั้งหมด เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้ว เรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา บำเพ็ญเพียรด้วยความ ไม่ประมาท ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง 500 รูป

พระมหาปชาบดีขอบวชเป็นภิกษุณี พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่จาริยบรรพต ในพรรษาที่ ๑๙ พระมหาปชาบดีเดินทางมาขอบวชพร้อมหมู่บริวาร ตรัสห้ามแต่ด้วยความช่วยเหลือโดยพระอานนท์ จึงตรัสอนุญาตให้บวชโดยถือคุณธรรม ๘ ประการ และปฏิบัติอยู่ ๒ ปีจึงบวชได้


ภาพที่ 67 ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ 
พระพุทธองค์เสด็จจาริกมคธชนบท ทรงประทับอยู่ใต้ร่มไทร เรียกว่า พหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และนาลันทาต่อกัน ในเวลานั้น ปิปผลิมาณพ กัสสปโคตร เบื่อหน่ายการครองเรือน ออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก เที่ยวจาริกมาถึงที่นั่น พบพระพุทธองค์แล้วเกิดความเลื่อมใส นับถือพระพุทธองค์เป็นศาสดาแล้วทูลขอบวช พระองค์ทรงประทานอุปสมบทให้โดยการประทานโอวาท 3 ข้อว่า 

1. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและยำเกรง ไว้ในภิกษุทั้งที่เป็น ผู้เฒ่า ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า 
2. ธรรมใดก็ตาม ที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูฟังธรรมนั้น และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น 
3. เราจักไม่ละสติที่เป็นไปในกาย คือ พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์(กายคตาสติ) 

ท่านพระปิปผลิ เมื่อได้ฟังพุทธโอวาทแล้ว เร่งบำเพ็ญเพียรไม่นานนัก ในวันที่แปดนับแต่อุปสมบท ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัย สหธรรมิกทั้งหลายมักเรียกชื่อท่านว่า พระมหากัสสปะ

ปิปผลิปริพาชกขอบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ประทับอยู่ดินแดนต่อระหว่างนครราชคฤห์กับปาฏาลีบุตร ปิปผลิพราหมณ์ตระกูลกัสสปะพราหมณ์ได้ออกบวชเป็นปริพากาเมื่อมีอายุมากแล้ว เพื่อค้นหาอาจารย์ พบพระพุทธองค์ เลื่อมใสในคำสอนแล้วขอบวชเป็นภิกษุ ทรงประทานโอวาท ๓ ข้อ เพื่อละทิฐิแล้วจึงบวชได้ แล้วประทานนามใหม่ว่า “พระมหากัสสปเถระ”


ภาพที่ 68 พระพุทธองค์ประทานจีวรของพระองค์เองแก่พระมหากัสสปะเถระ 
เมื่อพระพุทธองค์ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะแล้ว ทรงเสด็จจาก โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ โดยมีพระกัสสปะ เป็นผู้ตามเสด็จ ระหว่างทางพระพุทธองค์ทรงแวะประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง กัสสปะภิกษุจึงลาด สังฆาฏิของตน สำหรับให้พระพุทธองค์ทรงประทับ พระศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณว่า บารมีของพระกัสสปะที่สั่งสมมาแล้วนั้นเพียงพอที่จะครองผ้า ที่พระองค์ทรงใช้สอยอยู่ จึงลูบผ้านั้น ตรัสว่า "กัสสปะ สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าของเธอผืนนี้นุ่มดี" กัสสปะภิกษุทราบว่าพระศาสดามีพระประสงค์ จะห่มจึงน้อมถวายสังฆาฏินั้นแด่พระพุทธองค์ และขอประทานจีวรเก่าที่พระองค์ทรงใช้อยู่มาห่มแทน พระพุทธองค์ตรัสว่า "กัสสปะ ธรรมดาว่า จีวรที่เก่าเพราะการใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บุคคลผู้สามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ จึงสมควรรับ ด้วยว่าในวันที่เราชักผ้าบังสกุลผืนนี้มหาปฐพีได้ไหว
จนถึงน้ำรองแผ่นดิน" จากนั้นจึงทรงแลกเปลี่ยนจีวรกับพระกัสสปะ ในขณะนั้นแผ่นดินได้ไหวอีก เสมือนจะรับรู้ว่า พระองค์ทรงทำสิ่ง

ที่ทำได้ยาก ด้วยว่าจีวรที่พระองค์ห่มแล้วไม่เคยประทานให้สาวกรูปใดมาก่อน กัสสปะภิกษุ มิได้ทนงตนว่า เราได้จีวรของพระพุทธเจ้ามาครอง แต่กลับคิดว่า เราควรจะกระทำสิ่งใดให้ดียิ่งขึ้น จึงสมาทานธุดงค์ 13 ในสำนักของพระพุทธองค์ และถือมั่นอยู่ 3 ประการ คือ 

1. ถือบังสุกุลจีวรเป็นวัตร 
2. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร 
3. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

พระพุทธเจ้าประทานจีวรแก่มหากัสสปะ พระพุทธเจ้าได้ประทานจีวรของพระองค์ซึ่งได้มาจากการบังสุกุล (ผ้าห่อศพ) นางปุณณาทาสีให้แก่พระมหากัสสปะกล่าวว่าทรงให้เกียรติเสมอพระองค์ และทรงมีเมตตาต่อตนที่เป็นพระอสีติพุทธสาวกยิ่งกว่าภิกษุอื่น 


ภาพที่ 69 โปรดจอมโจรองคุลิมาล 
อหิงสกกุมารบุตรพราหมณ์ปุโรหิตแห่งสาวัตถี ได้ศึกษาสรรพวิชาอยู่ ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ผู้เป็นอาจารย์ถูกยุยงว่า อหิงสกะหมายล้มล้างตน จึงหาทางกำจัดโดยยืมมือผู้อื่นฆ่า และบอกว่าจะสอน "วิษณุมนต์" ให้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหานิ้วมือมนุษย์จำนวนหนึ่งพันนิ้วจากหนึ่งพันคนมาบูชาครู พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณว่า จอมโจรองคุลิมาลกำลังจะทำกรรมหนัก

คือฆ่ามารดา จึงเสด็จไปขวางทาง ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้แผ่นดินขวางกั้นองคุลิมาลให้ตามไม่ทันตลอดระยะทาง 3 โยชน์ หรือ 48 กิโลเมตร จนจอมโจรเหนื่อยอ่อน เหงื่อไหล น้ำลายแห้ง องคุลิมาลตะโกนว่า "หยุดก่อนสมณะ" พระพุทธองค์ทรงรับสั่งว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านนั่นแหละยังไม่หยุด" พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนองคุลิมาลทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงตรวจดูกรรม ก็ทรงทราบว่า

องคุลิมาลนั้นได้เคยถวายภัณฑะ คือบริขารแปดแก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ทรงประทานเอหิภิกขุ อุปสัมปทา ตรัสว่า เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริยํ สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ดังนี้ บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ปรากฏแก่องคุลิมาลพร้อมกับพระดำรัสนั้นทีเดียว ทันใดนั้นความเป็นคฤหัสถ์ขององคลิมาลก็หายไป ปรากฏเป็นสมณะเลยทีเดียว พระองคุลิมาลบำเพ็ญเพียรไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

โปรดองคุลิมาลโจรผู้มีกรรมหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลผู้ที่กำลังจะกระทำมาตุฆาต (แม่กำลังเดินมาอยู่ระยะไกล) เอานิ้วมาร้อยเป็นมาลัยที่ 1,000 นิ้ว ทรงแสดงปาฎิหาริย์ (ความมหัศจรรย์) ให้ปรากฏโดยพุทธานุภาพ และตรัสให้โอวาทจนได้คิดละความเห็นผิด (ฆ่าบูชาครู) และขอบวชเป็นภิกษุ


ภาพที่ 70 วิสาขามหาอุบาสิกากราบทูลขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุจนตลอดชีวิต 
วิสาขามหาอุบาสิกาถวายผ้าอาบน้ำฝน วิสาขามหาอุบาสิกาพร้อมหมู่เพื่อนหญิงได้ขอสมาทานถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระพุทธเจ้าซึ่งสมัยนั้นยังมิได้มีพุทธบัญญัติการถือครองผ้าเกิน ๓ ผืน



ภาพที่ 71 พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร 
ทรงตั้งพระมหากัจจายนะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิศดาร ทรงยกย่องพระมหากัจจานะเป็นผู้เลิศในการขยายความ พระมหากัจจานะและหมู่ภิกษุได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ ซึ่งทรงแสดงแต่เพียงย่อๆ ภิกษุหมู่หนึ่งอันมีพระสมิทธิเป็นต้นได้เข้าไปหาพระมหากัจจานะท่านได้อธิบายความย่อที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น


ภาพที่ 72 พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุสงฆ์ 500 รูป เสด็จไปนครเวสาลี 
ประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนา โปรดกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย จากนั้นทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเวสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์ ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ว่า "อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้นับเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย" แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน

ทรงทัศนากรุงไพสาลีเป็นครั้งสุดท้าย ในภาพ พระพุทธเจ้าหยุดทอดพระเนตร เมืองไพศาลีแห่งกษัตริย์ลิจฉวีเป็นครั้งสุดท้าย หลังเสด็จกลับจากรับภัตตกิจที่ไพศาลีพร้อมหมู่ภิกษุเสด็จไปประทับกลางวันที่ปาวาลเจดีย์ ก่อนจะทรงรับอารธนาของพระยาสวัสสวดีมารให้เสด็จดับขันธ์


ภาพที่ 73 พญาวัสวดีมารถือโอกาสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า 
ได้ทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้บริษัท 4 ของพระองค์ได้เจริญแพร่หลายแล้ว พระศาสนาได้ดำรงมั่นเป็นหลักฐาน สมดังมโนปณิธานแล้ว ขออาราธนาพระองค์เสด็จปรินิพพานเถิด พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า "ดูกรมาร ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด อย่าทุกข์ใจไปเลย ไม่ช้าแล้ว ตถาคตก็จักปรินิพพาน กำหนดการแต่นี้ล่วงไปอีก 3 เดือนเท่านั้น" ครั้นพญามารได้สดับพระพุทธดำรัสเช่นนั้น 
ก็มีจิตโสมนัสยินดี แล้วก็อันตรธานจากสถานที่นั้นไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนดพระทัย ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันมาฆะปุรณมี เพ็ญเดือน 3 ครั้งนั้นก็บังเกิดเหตุอัศจรรย์ พื้นแผ่นพสุธาโลกธาตุก็กัมปนาทหวั่นไหว ประหนึ่งว่าแสดงความทุกข์ใจ อาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในกาลไม่นาน ต่อนี้ไปอีก 3 เดือนเท่านั้น

พระยาวัสสวดีมารทูลอาราธนาให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในภาพ พระพุทธเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท ๔ มีพระรัศมีสว่างไสวพระยาสวัสสวดีมารได้เข้าเฝ้าทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา


ภาพที่ 74 จุนทกัมมารบุตร (นายจุนทะ) บุตรช่างทอง ชาวเมืองปาวา
ถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแด่พระพุทธองค์ในเช้าวันปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสแก่นายจุนทะว่า “สูกรมัททวะซึ่งท่านเตรียมไว้นั้น จงอังคาสเฉพาะแต่ตถาคตเพียงผู้เดียว ส่วนที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วย อาหารอย่างอื่นๆ เถิด” นายจุนทะกระทำตามพระพุทธบัญชา ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วก็ตรัสอนุโมทนาให้นายจุนทะเบิกบานในไทยทานที่ถวายแล้ว ก็เสด็จกลับไปสู่อัมพวัน เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยภัตตาหารของนายจุนทะในวันนั้นก็ทรงประชวรพระโรค “โลหิตปักขันทิกาพาธ” มีกำลังกล้าลงพระโลหิต (อาการท้องร่วงเป็นโลหิต) เกิดทุกขเวทนามาก ได้แสดงปุพพกรรมที่ทรงทำไว้ในชาติก่อน แก่พระอานนท์แล้วตรัสว่า “อานนท์ เราจะไปสู่เมืองกุสินารานคร” พระอานนท์รับพระบัญชาแจ้งให้ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายตามเสด็จ พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า “อานนท์ ต่อไปภายหน้าหาก จะพึงมีใครทำความร้อนใจแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า ‘เพราะบิณฑบาต ที่ท่านถวายพระผู้มีพระภาคครั้งสุดท้ายแล้วเสด็จปรินิพพาน "พึงทำความสบายใจให้แก่นายจุนทะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสรรเสริญว่า บิณฑบาตที่ถวายพระตถาคต 2 ครั้ง คือ ครั้งที่พระตถาคตเสวยแล้ว ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และครั้งที่พระตถาคตเสวย แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตทานทั้งหลาย เป็นกุศลกรรม ทำให้เจริญอายุ วรรณะ สุข ยศ และสวรรค์ ดังนี้เถิด” 

สูกรมัททวะที่พระพุทธองค์เสวยเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ชาวพุทธทั้ง ฝ่ายเถรวาทและมหายาน ต่างตีความเข้าข้างตนเองกล่าวคือ ทางฝ่ายมหายานหรือสำนักที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ก็ตีความว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกิน แต่ฝ่ายเถรวาทตีความว่าเป็นเนื้อสุกรอ่อน หรืออาหารชนิดหนึ่ง หรือสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีข้อความหนึ่งที่นำมาจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม 9 ภาค 2 - หน้าที่ 748 เรื่อธรรมดาของพระพุทธเจ้า (มี 30 ข้อ ยกมา 2 ข้อ) ข้อ 8 เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ข้อ 29 เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน 

ถ้าข้อธรรมนี้ปรากฏจริงในพระไตรปิฎกมาแต่เดิมและไม่คลาดเคลื่อน และคำว่า รสมังสะ คืออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ตรงนี้น่าจะสรุปได้ว่า พระพุทธองค์เสวยเนื้อสุกรอ่อนในวันปรินิพพานหรือมิฉะนั้น ก็เสวยเนื้อสัตว์อื่นๆ ในวันนั้นด้วย และขยายความต่อไปได้อีกว่าโดยปกติ

พระองค์เสวยอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ทำให้กระเพาะอาหารหรือน้ำย่อย ไม่คุ้นเคยกับเนื้อสัตว์ (ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่ทานมังสวิรัติมานานแล้วกลับมาทานเนื้อสัตว์อาจถึงขั้นปากพอง หรืออาหารเป็นพิษ) เป็นเหตุแห่งพระโรค 

จุนทะกัมมารบุตรถวายภัตตาหารครั้งสุดท้าย ในภาพ จุนทะกัมมารบุตรช่างทองพร้อมภรรยาและบริวารถวายภัตตาหารที่เรือนตน พระพุทธเจ้าตรัสให้ถวายอาหารชื่อสุกรมัทวะเฉพาะแต่พระองค์ มิให้ภิกษุอื่นฉัน การได้ฉันอาหารวิเศษนี้มีผลบุญเท่าเทียมกันกับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้


ภาพที่ 75 พระพุทธองค์ตรัสให้พระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำใน
แม่น้ำสายหนึ่งระว่างทางที่มุ่งสู่เมืองกุสินารา ทรงตรัสว่า "เราจักดื่มน้ำระงับความกระหายให้สงบ" พระอานนท์กราบทูลว่า "แม่น้ำตื้นเขิน เกวียนประมาณ 500 เล่ม ของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้ เท้าโคล้อเกวียนบดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น อีกไม่ไกลแต่นี้ มีแม่น้ำสายหนึ่ง ชื่อกกุธานที มีน้ำใส จืดสนิท เย็น มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์ ขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปที่แม่น้ำนั้นเถิด พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง 3 ครั้ง พระอานนท์จึงอุ้มบาตรเดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ ครั้นทำท่าจะตัก พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจ รำพึงว่า "ความที่พระตถาคตมีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แม่น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก น้ำกลับใสไม่ขุ่นมัว"

พระอานนท์พุทธอุปัฎฐากถวายน้ำที่ริมฝุ่งแม่น้ำโรหินี
ในภาพ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่มไม้่ริมลำธาร ตรัสให้พระอานนท์ตักน้ำถวาย น้ำที่ขุ่นก็ใสสะอาดอย่างมหัศจรรย์ พระอานนท์จึงได้นำน้ำที่ตักมาถวายพระพุทธองค์


ภาพที่ 76 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชก
ให้สำเร็จมรรคผล สุภัททปริพาชกเข้าไปหาพระอานนท์ บอกว่า ตนประสงค์จะขอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน พระอานนท์ปฎิเสธปริพาชกว่าอย่าเลย อย่าได้รบกวนพระพุทธองค์เลย เพราะพระองค์กำลังจะปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงได้ยินการโต้ตอบระหว่างพระอานนท์กับสุภัททปริพาชก จึงตรัสให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าได้ เมื่อสุภัททปริพาชกได้โอกาสเข้าเฝ้า
พระพุทธเจ้า จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน หลังจากพระพุทธองค์ ตรัสตอบปัญหาแล้ว เขาเกิดความเลื่อมใส ทูลขอบวช พระพุทธองค์ตรัสว่า 

นักบวชในศาสนาอื่นจะขอบวชต้องอยู่ปริวาสครบ 4 เดือนก่อน สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า แม้จะให้อยู่ถึง 4 ปีก็ยอม พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์บวชให้สุภัททปริพาชกในคืนวันนั้น สุภัททปริพาชกอุปสมบทแล้ว บำเพ็ญเพียรไม่นานในคืนนั้นเองก็บรรลุพระอรหันต์ จึงนับเป็นพระอรหันต์สาวกองค์สุดท้ายที่ทันเห็นพระพุทธองค์ขณะดำรงพระชนม์ชีพ

ปัจฉิมพระสาวกสุภัททปริพาชก
ในภาพ พระพุทธองค์ให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าถามปัญหาธรรมแม้พระอานนท์จะห้าม ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "อานนท์ ประโยชน์อันใดที่เขาจะได้จากเรา แม้ลมหายใจสุดท้ายเราก็จะยอมมอบให้เขา"


ภาพที่ 77 พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน 
พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า “หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”
หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงเข้าสมาบัติตามลำดับดังนี้

ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว 
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว 

ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว 
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว 
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว 

ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว 
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว 
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว 
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว 

ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว 
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว 
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว 
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว 
ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว 
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว 
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว 
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จดับขันธปรินิพพาน

เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในภาพ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระพุทธองค์ประทับสีหไสยาส ท่ามกลางหมู่สงฆ์และทวยเทพ 
ดอกไม้่ทิพย์ทั้งปวงร่วงโปรยลงมาเป็นพุทธบูชา เข้าสู่สถานที่พุทธปรินิพพานจนละลานตาทั่วอุทธยาน


ภาพที่ 78 ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ 
หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออกของพระนครเพื่อถวายพระเพลิง พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะเถระแจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน

ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวาเพื่อเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทางได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นก็ทราบว่ามีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นดอกไม้นี้มีเพียงในเทวโลกไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่แสดงว่าจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไปล่วงเจ็ดวันแล้ว 

เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ 500 รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณรอบเชิงตะกอน 3 รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้าแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาทของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ จงชำแรกคู่ผ้า 500 ออกเป็นช่องประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า 500 คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน เมื่อพระเถระและภิกษุ 500 รูปถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระ

ของพระศาสดาด้วยอำนาจของเทวดา เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ประพรมพระบรมสารีริกธาตุด้วยของหอม 4 ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวงของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง 5 สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย

พวกเจ้ามัลละนำพระบรมธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระบรมธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ 7 อย่าง กั้นเศวตรฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขา จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็นเหล่าม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่ พวกเจ้ามัลละจัดฉลองพระบรมธาตุตลอด 7 วัน

พิธีถวายพระเพลิงพุทธสรีระพระพุทธเจ้า
ในภาพ เหล่าภิกษุสงฆ์ เทพ มัลลกษัตริย์ ได้ถวายการสักการะพระบรมศพ พระมหากัสสปะเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ อธิฐานจึงบังเกิดความอัศจรรย์ พระยุคลบาทโผล่พ้นปลายหีบพระศพ เพื่อประทานให้นมัสการเป็นพิเศษแก่พระมหากัสสปะ


ภาพที่ 79 แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ 
เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธองค์และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริย์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ เหล่ามัลลกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่าจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพมาถึงหน้าประตูเมืองทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิงพระบรมธาตุของพระองค์ผู้ประเสริฐย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น 8 ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด" กษัตริย์ทั้งหลายมีมติให้โทณพราหมณ์แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น 8 ส่วนเท่ากัน 

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในพระนครราชคฤห์ พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองอัลกัปปะ พวกกษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวกเจ้ามัลละ เมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ก็ได้กระทำสถูปและการฉลองตุมพะ (ทะนานทองตวงพระบรมธาตุ) พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวันฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง รวมกับสถูปบรรจุตุมพะเป็นเก้าแห่ง และรวมกับพระสถูปบรรจุพระอังคารเป็นสิบแห่ง 

พระสรีระของพระพุทธเจ้ามีแปดทะนาน เจ็ดทะนานบูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนานหนึ่งพวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดาชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในคันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่งพระยานาคบูชากันอยู่ฯ พระทนต์ 40 องค์บริบูรณ์ พระเกศา และพระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล

แจกพระบรมสารีริธาตุ
ในภาพ โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกฐาตุทั้ง ๑๖ ทะนานแก่เจ้าเมืองทั้ง ๘ แล้วแอบเอาพระเขี้ยวแก้ใส่มวยผม พระอินทร์จึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปประดิษฐานบนสวรรค์


ภาพที่ 80 พระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว พระอังคารธาตุ 
และพุทธบริขารสถิตในมนุษย์โลกและเทวโลก พร้อมทั้งสังเวชนียสถานทั้งสี่ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน

พระบรมธาตุและอัฐบริขารสถิตในภพ ๓
ในภาพ สิ่งอันเป็นสัญญลักษณ์แทนความเป็นพุทธเจ้า กษัตริย์และเทพในโลกทั้ง ๓ ได้อัญเชิญพระบรมธาตุและธาตุบริขารสำคัญไปประดิษฐ์ในภพของตนเพื่อทักษิณาถวายการเคารพสัการบูชาสูงสุด



ภาพที่ 81 พุทธกิจหลักประจำวัน 5 ประการ 
พุทธกิจประการที่ 1 ในเวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์โลก 
พุทธกิจประการที่ 2 ในเวลาเย็น ทรงแสดงธรรมแก่ผู้สนใจในการฟังธรรม 
พุทธกิจประการที่ 3 ในเวลาค่ำ ทรงประทานพระโอวาท ให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย 
พุทธกิจประการที่ 4 ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรมและตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย 
พุทธกิจประการที่ 5 ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมที่ประองค์ทรงแสดง แล้วเสด็จไปอนุเคราะห์ แสดงธรรมแก่ผู้ที่ปรากฏในข่ายพระญาณ

กิจวัตรของพระบรมศาสดาขณะดำรงพระชนม์
ในภาพ พระบรมศาสดาทรงมีพระเมตตากรุณาโปรดหมู่เวไนยสัตว์ทรงมีกิจเพื่อสอนผู้อื่นเป็นรายวัน ขณะดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เช้าถึงเย็นโปรดหมู่ชนหลายวรรณะที่มาสู่ความเป็นพุทธมามกะ หัวค่ำทรงแสดงธรรมโปรดพระสาวกภิกษุ กลางคืนแสดงธรรมโปรดหมู่เทวดา และเวลาค่อนรุ่งทรงส่งกระแสข่ายพระญาณไปตรวจบุคคลที่สมควรโปรดตามที่ทรงมีความพอพระทัย



"สุขาวดีนั้นอยู่สุดแสนไกล นับด้วยล้านโกฏภพ ฉันจะไปที่นั่นได้อย่างไร หากอาศัยเพียงรองเท้าฟางคู่หนึ่ง" (ไฮกุ ท่านอิกคิวซัง)

พระศาสดาตรัสว่า 
"สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ, สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ; สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ, ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ."

ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง  ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.

ขอขอบคุณที่มาของภาพพุทธประวัติ : sookjai