คนพาลเหมือนถ่านไฟ
ทุชฺชเนน หิ สํสคฺคํ, สตฺตุตาปิ น ยุชฺชติ;
ตตฺโตว ฑยฺหตฺยงฺคาโร, สนฺโต กาฬายตํ กโร.
ที่แท้ บุคคลไม่ควรคลุกคลีกับคนชั่ว แม้เป็นศัตรูกัน ก็ไม่สมควรเลย
ถ่านไฟที่ร้อนจัด ย่อมไหม้เอานั่นเทียว ถึงเย็นสนิทแล้ว ยังทำให้มือเปื้อนได้.
(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๖, มหารหนีติ ๑๓๒, กวิทัปปณนีติ ๒๒๒)
ศัพท์น่ารู้ :
ทุชฺชเนน (ด้วยทุรชน, กับคนชั่ว) ทุชฺชน+นา
หิ (เป็นความจริง, จริงอยู่, แท้จริง, เพราะว่า) นิบาติ
สํสคฺคํ (การคลุกคลี, การคบหา) สํสคฺค+สิ (+อํ) ในมหารหนีติ เป็น สํสคฺโค ก็ถือว่าสมควรกว่า
สตฺตุตาปิ ตัดบทเป็น สตฺตุตา+อปิ (แม้ความเป็นศัตรูกัน) สตฺตุ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต วิ. สตฺตุโน ภาโว สตฺตุตา (ความเป็นแห่งศัตรู ชื่อว่า สตฺตุตา), บางฉบับเป็น สตฺตุนาปิ ก็มี. ส่วน อปิ (แม้) เป็นอุปสัค หรือ นิบาต ก็ว่า.
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ยุชฺชติ (ประกอบ, สมควร) √ยุช+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
ตตฺโตว ตัดบทเป็น ตตฺโต+เอว (ลุกไหม้แล้วนั่นเทียว, คุกรุ่นแล้วเทียว) √ตป-สนฺตาเป ในความร้อน +ต ปัจจัย (√ตป+ต) > ตตฺต+สิ ลบที่สุดและซ้อน ตฺ เป็น ตฺต § คุปาทีนญฺจ. (รู ๖๓๐)
ฑยฺหตฺยงฺคาโร ตัดบทเป็น ฑยฺหติ (เผา, ไหม้) + องฺคาโร (ถ่านเพลิง)
สนฺโต (สงบแล้ว, ดับแล้ว, มอดแล้ว) √สมุ+ต > สนฺต+สิ
กาฬายตํ ควรเป็น กาฬายติ, กาฬายเต (ประพฤติดำอยู่, เป็นดุจว่าสีดำ) กาฬ+อาย+ติ อาย ปัจจัยในควมประพฤติ เบื้องหลังนามศัพท์ § อาย นามโต กตฺตุปมานาทาจาเร. (รู๕๓๖)
กโร (มือ, กร) กร+สิ, บางฉบับเป็น กรํ ก็มี.
-----
ขอนำคาถานี้จากอีกสองคัมภีร์มาแสดงเทียบเคียงกันไว้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ในสนใจ นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป..
ในมหารหนีติ คาถา ๑๓๒ มีข้อความที่ต่างกัน ดังนี้
ทุชฺชเนน หิ สํสคฺโค, สตฺตุตาปิ น ยุชฺชเต;
ตตฺโต ทหติ องฺคาโร, สนฺตา ตุ กาลตํ กโร.
จริงอย่างนั้น การคลุกคลีกับคนชั่ว ก็ไม่สมควร แม้ความเป็นศัตรูกัน ก็ไม่สมควร ถ่านไฟร้อนย่อมไหม้มือ ส่วนที่ดับก็ทำให้มือดำได้
ส่วนในกวิทัปปณนีติ คาถา ๒๒๒ มีข้อความต่างกันอีก เห็นได้ชัด ดังนี้
ทุชฺชเนน สมํ เวรํ, สขฺยญฺจาปิ น การเย;
อุณฺโห ทหติ จงฺคาโร, สีโต กณฺหายเต กรํ.
บุคคลไม่ควรทำเวรและแม้ความเป็นเพื่อน ให้เสมอกับทุรชนคนชั่ว อนึ่งถ่านที่ร้อน ย่อมเผาไหม้มือได้ ที่เย็นแล้ว ยังทำให้มือดำอีกด้วย.
-----
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
เป็นความจริง การคลุกคลีด้วยทุรชนแลศัตรู ไม่ดีเลย ถ่านเพลิงที่ลุกโชนจับเข้าก็ไหม้มือ แม้ดับเย็นแล้ว ถูกเข้าก็ยังดำติดมืออีก.
-----
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
จริงอย่างนั้น การคลุกคลีกับทรชนและศัตรูไม่ดีเลย ถ่านเพลิงที่ลุกโชน จับเข้าก็ไหม้มือ ถึงดับเย็นแล้วจับเข้าก็ยังดำติดมืออีก.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 คนพาลเหมือนงูพิษ, ใจคนพาล, เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว , หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ , คุณของคนพาล , ว่าเขาเป็นเสียเอง , คนชอบหาเรื่อง
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร
0 comments: