วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567

คนพาลเหมือนงูพิษ

คนพาลเหมือนงูพิษ

ตสฺมา  ทุชฺชนสํสคฺคํ,      อาสีวิสมิโวรคํ;  
อารกา  ปริวชฺเชยฺย,       ภูตกาโม วิจกฺขโณ.

เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใคร่ความเจริญ  มีปัญญาเห็นแจ้ง พึงเว้นการคลุกคลีกับ
คนชั่วให้ห่างไกล เหมือนห่างงูมีพิษร้ายที่เขี้ยวฉะนั้น.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๕, มหารหนีติ ๑๓๑)

ศัพท์น่ารู้ :

ตสฺมา  (เพราะฉะนั้น, เหตุนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม, เป็นนิบาตก็ได้

ทุชฺชนสํสคฺคํ  (การคลุกคลีด้วยทุรชน) ทุชฺชน (คนชั่ว)+สํสคฺค (คลุกคลี> ทุชฺชนสํสคฺค+อํ

อาสีวิสมิโวรคํ  ตัดบทเป็น อาสีวิสํ (พิษที่เขี้ยวงู) +อิว (ราวกะ, ดุจ) +อุรคํ (ผู้ไปด้วยอก, งู) ศัพท์(บาทคาถา)นี้ เดิมเป็น อาสิวีสมิโวรคํ แก้เป็น อาสีวิสมิโวรคํ ตามมหารหนีติ ซึ่งเป็นศัพท์ที่ถูกต้อง เพราะ #อาสี แปลว่า เขี้ยวงู ไม่ใช่ อาสิ, วิส แปลว่า พิษ ไม่ใช่ วีส.

อารกา  (ห่าง, ไกล) นิบาตบท

ปริวชฺเชยฺย  (เว้น, เว้นรอบ) ปริ+√วชฺช+เณ+เอยฺย จุราทิคณะ ตามนัยสัททนีติ ธาตุมาลา ถ้าตามนัยธาตวัตถสังคหะ เป็น วชฺชี เป็นได้สองคณะคือ ภูวาทิคณะ และจุราทิคณะ

ภูตกาโม  (ผู้ใคร่ความเจริญ) ภูต, ภูติ (ความเจริญ) +กาม (ใคร่, ปรารถนา, ต้องการ) > ภูตกาม+สิ ในมหารหนีติ เป็น ภูติกาโม.

วิจกฺขโณ (ผู้มีปัญญา, ผู้เห็นประจักษณ์) วิจกฺขณ+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เหตุนั้น ผู้ใคร่ความเจริญ มีวิจารณญาณ  พึงเว้นการคลุกคลีด้วยทุรชนเสียให้ห่างไกล  เสมือนงูร้ายมีพิษที่เขี้ยว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะฉะนั้น ผู้หวังความเจริญ เห็นประจักษ์แล้ว  ควรเว้นการคลุกคลีกับทรชนเสียให้ห่างไกล  เสมือนห่างงูร้ายมีพิษที่เขี้ยวฉะนั้น.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉ใจคนพาล, เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ , คุณของคนพาล , ว่าเขาเป็นเสียเอง , คนชอบหาเรื่อง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร  

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

 พระธรรมรับอรุณ : เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่

พระธรรมรับอรุณ : เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่

🌻

อภิวาทนสีลิสฺส วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.

ธรรม ๔ ประการ คืออายุ วัณณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้มีการกราบไหว้เป็นนิจ.

• อายุมั่นขวัญยืนระรื่นจิต
• วรรณะผ่องโสภิตสัมฤทธิ์ผล
• สุขะล้ำสำราญบันดาลพล
• พละล้นก้าวหน้าสถาพรฯ
• ผู้กราบไหว้อ่อนน้อมอยู่เนืองนิจ
• ย่อมมีจิตผุดผ่องเสริมราศรี
• สร้างรอยยิ้มมหาเสน่ห์ผูกไมตรี
• พระชินสีห์ตรัสสรรเสริญจำเริญพรฯ

🌻

พุทธพจน์เตือนใจ

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำความสุขมาให้.

เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ขอท่านจงหมั่นฝึกจิตให้มั่นคงดี เพื่อความสุขความเจริญทุกเมื่อเทอญ.
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

























วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ยํ  เว  เสวติ,  ตาทิโส   :   คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น.

ยํ เว เสวติ, ตาทิโส : คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น.

🌻🌻🌻

• สิทธิการิยะเช้าวันนี้
• พระชินสีห์ตรัสสอนเทศนา
• หากคบใครให้รู้ไว้เถิดว่า
• ผลกลับมาตามสนองเช่นนั้นแลฯ
• จะคบใครโปรดดูให้ถี่ถ้วน
• อย่ารีบด่วนคบมั่วตัวเสียหาย
• คบคนผิดช้ำทรวงจวบวันตาย
• ปราชญ์ทั้งหลายเตือนสอนอย่านอนใจฯ

🌻 ..พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า :-

อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.

การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑
การบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ๑ ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ

🌻🌻🌻



























วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

 Be kind

Be kind, because nobody’s life is easy.
Be kind, because everyone makes mistakes.
Be kind, because each act of kindness is a precious gift to the world.
Be kind, because kindness encourages kindness.
Be kind, because kindness calms the mind.
Be kind, because kindness brings joy to the mind.
Be kind, because kindness purifies the mind.
Be kind, because kindness dissolves attachment to self.
Be kind to everyone, not just those you like.
Be kind without expectations.
Be kind, with mindfulness and wisdom as your guide as how to be kind in the best and most helpful way.
Be kind.


Ajahn Jayasāro
🌻🌻🌻



















วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อติโลโภ หิ ปาปโก  :  ความโลภเกินประมาณชั่วนัก

อติโลโภ หิ ปาปโก : ความโลภเกินประมาณชั่วนัก

🌻 คนโลภมักไม่รู้สึกตัวว่าตนทำผิดพลาด แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สามแล้ว ขึ้นชื่อว่าคนโลภ มักมีความปรารถนาไม่รู้จักพอ จึงไม่อาจกระทำให้ลาภผลของตน ยั่งยืนได้ แม้ทำผิดพลั้งหลายครั้ง ก็ไม่รู้สึกตัว เพราะมีความโลภเป็นใหญ่นั่นเอง เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสเตือนว่า

“ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ, อติโลโภ หิ ปาปโกติ.

แปลความว่า “ได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น, เพราะความโลภเกินประมาณชั่วนัก” 🌻 สาระธรรมจากอรรถกถาสุวรรณหังสชาดก 🌻 สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ. ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ฯ 🌻🌻🌻