วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567

คนพาลเหมือนงูพิษ

คนพาลเหมือนงูพิษ

ตสฺมา  ทุชฺชนสํสคฺคํ,      อาสีวิสมิโวรคํ;  
อารกา  ปริวชฺเชยฺย,       ภูตกาโม วิจกฺขโณ.

เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใคร่ความเจริญ  มีปัญญาเห็นแจ้ง พึงเว้นการคลุกคลีกับ
คนชั่วให้ห่างไกล เหมือนห่างงูมีพิษร้ายที่เขี้ยวฉะนั้น.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๕, มหารหนีติ ๑๓๑)

ศัพท์น่ารู้ :

ตสฺมา  (เพราะฉะนั้น, เหตุนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม, เป็นนิบาตก็ได้

ทุชฺชนสํสคฺคํ  (การคลุกคลีด้วยทุรชน) ทุชฺชน (คนชั่ว)+สํสคฺค (คลุกคลี> ทุชฺชนสํสคฺค+อํ

อาสีวิสมิโวรคํ  ตัดบทเป็น อาสีวิสํ (พิษที่เขี้ยวงู) +อิว (ราวกะ, ดุจ) +อุรคํ (ผู้ไปด้วยอก, งู) ศัพท์(บาทคาถา)นี้ เดิมเป็น อาสิวีสมิโวรคํ แก้เป็น อาสีวิสมิโวรคํ ตามมหารหนีติ ซึ่งเป็นศัพท์ที่ถูกต้อง เพราะ #อาสี แปลว่า เขี้ยวงู ไม่ใช่ อาสิ, วิส แปลว่า พิษ ไม่ใช่ วีส.

อารกา  (ห่าง, ไกล) นิบาตบท

ปริวชฺเชยฺย  (เว้น, เว้นรอบ) ปริ+√วชฺช+เณ+เอยฺย จุราทิคณะ ตามนัยสัททนีติ ธาตุมาลา ถ้าตามนัยธาตวัตถสังคหะ เป็น วชฺชี เป็นได้สองคณะคือ ภูวาทิคณะ และจุราทิคณะ

ภูตกาโม  (ผู้ใคร่ความเจริญ) ภูต, ภูติ (ความเจริญ) +กาม (ใคร่, ปรารถนา, ต้องการ) > ภูตกาม+สิ ในมหารหนีติ เป็น ภูติกาโม.

วิจกฺขโณ (ผู้มีปัญญา, ผู้เห็นประจักษณ์) วิจกฺขณ+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เหตุนั้น ผู้ใคร่ความเจริญ มีวิจารณญาณ  พึงเว้นการคลุกคลีด้วยทุรชนเสียให้ห่างไกล  เสมือนงูร้ายมีพิษที่เขี้ยว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะฉะนั้น ผู้หวังความเจริญ เห็นประจักษ์แล้ว  ควรเว้นการคลุกคลีกับทรชนเสียให้ห่างไกล  เสมือนห่างงูร้ายมีพิษที่เขี้ยวฉะนั้น.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉ใจคนพาล, เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ , คุณของคนพาล , ว่าเขาเป็นเสียเอง , คนชอบหาเรื่อง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร