วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

ใจคนชั่ว

ใจคนชั่ว

ยถาจุทุมฺพรา  ปกฺกา,   พหิรตฺตกเมว  จ;
อนฺโต  กิมิลปูรโณ,    เอวํ  ทุชฺชนธมฺมตา.

มะเดื่อสุกภายนอกดูมีสีแดงเรื่องาม,  แต่ภายในเต็มไปด้วยหมู่หนอน ฉันใด,
ธรรมดาของคนชั่วภายนอกดูดี  แต่ภายในกลับมีใจสกปรก ฉันนั้น.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๗, โลกนีติ ๔๓, กวิทัปปณนีติ ๒๑๘)

ศัพท์น่ารู้ :

ยถาจุทุมฺพรา​  ศัพท์นี้ แต่เดิมเป็น ยถาจุฎฺฎมฺปรา ตัดบทเป็น ยถาจ+อุฏฺฏมฺปรา, ยถาจ (ฉันใด) นิบาตบอกอุปมา, ส่วน อุฏฺฏมฺปรา ยังหาศัพท์ไม่พบ ไม่ทราบแปลว่าอะไร, เข้าใจว่าน่าเป็นการศัพท์ที่คลาดเคลื่อนมาจาก ยถาจุทุมฺพรา คือตัดบทเป็น ยถาจ+อุทุมฺพรา, เพราะในโลกนีติและกวิทัปปณนีติ เป็น ยถา อุทุมฺพรปกฺกา แยกเป็น อุทุมฺพร (มะเดื่อ)+ปกฺก (สุก, สุกงอม) > อุทุมฺพรปกฺก+โย, ฉะนั้น จึงแก้ใหม่เป็น ยถาจุทุมฺพรา ปกฺกา, หรือ ยถาจุทุมฺพรปกฺกา ก็ได้.

มีอำเภอหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ชื่ออำเภออุทุมพรวิสัย หมายถึงเขตที่มีต้นมะเดื่อ คงหมายถึงอำเภอบ้านเดื่อ ก็ได้.

พหิรตฺตกเมวจ​  ตัดบทเป็น พหิรตฺตกํ+เอว จ; พหิ (ภายนอก)+รตฺตก (สีแดง, แดงเรื่อ) > พหิรตฺตก+สิ = พหิรตฺตกํ; เอว จ (ด้วยนั่นเทียว, นั่นเทียว) เป็นสมูหนิบาต

อนฺโต  (ภายใน) เป็นนิบาตใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ

กิมิลปูรโณ  (เต็มด้วยหนอน) กิมิล (หนอน)+ปูรณ (เต็ม) > กิมิลปูรณ+สิ, ในโลกนีติเป็น กิมีหิ สมฺปุณฺณา ส่วนในกวิทัปปณนีติเป็น กิมิลสมฺปุณฺณา เป็นพหูพจน์เหมือน อุทุมฺพรปกฺกา. กิมิล อาจย่อมาจาก กิมิกุล (หมู่หนอน, กลุ่มหนอน) ก็ได้

เอวํ  (ฉันนั้น) นิบาตบอกอุปไมย

ทุชฺชนธมฺมตา  (ธรรมดาของทุรชน, ปกติของคนชั่ว) ทุชฺชน+ธมฺมตา > ทุชฺชนธมฺมตา+สิ

ในโลกนีติ คาถา ๔๓ มีข้อความชัดเจน น่าจดจำนำไปใช้ ดังนี้

ยถา  อุทุมฺพรปกฺกา,    พหิรตฺตกเมว  จ;

อนฺโต  กิมีหิ  สมฺปุณฺณา,    เอวํ  ทุชฺชนหทฺทยาฯ

มะเดื่อสุกภายนอกดูมีสีแดงเรื่องาม,  แต่ภายในเต็มไปด้วยหมู่หนอน ฉันใด,

หทัยของทุรชนคนชั่ว  ก็เหมือนกันฉันนั้น.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ก็เหมือนอย่างว่า ผลมะเดื่อที่สุกแล้วภายนอกดูสี  

แดงสดใส แต่ภายในเต็มไปด้วยแมลงหวี่ ธรรมดา

ของทุรชนเป็นอย่างนี้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

มะเดื่อสุก ภายนอกดูแดงใส  แต่ภายในมีแมลงหวี่ นี้ฉันใด

ธรรดาทรชนก็ฉันนั้น.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 





วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

ลักษณะคนเลว

ลักษณะคนเลว

อนวฺหายํ  คมยนฺโต,   อปุจฺฉา  พหุภาสโก;
อตฺตคฺคุณํ  ปสํสนฺติ,   ติวิธํ  หีนลกฺขณํ.

เขาไม่เชื้อเชิญ ก็เข้าไปหา,   เขาไม่เอ่ยถาม ก็พูดพล่าม,

ยกย่องอวดคุณของตัวเอง,   ทั้งสามนี้ เป็นลักษณะของคนเลว.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๖, โลกนีติ ๓๑, กวิทัปปณนีติ ๙๒)

ศัพท์น่ารู้ :

อนวฺหายํ  (ในเพราะการไม่เรียกชื่อ, ไม่ออกปากเชิญ) น+อวฺหา > อนวฺหา+สฺมึ (ในสัททนีติ ธาตุมาลา ปริเฉจที่ ๑๖ กล่าวไว้ว่า วฺเห อวฺหายเน พทฺธายํ สทฺเท จ (√วฺเห ธาตุในความเรียกชื่อ, ถือหมั่น หยิ่ง, และการออกเสียง)ฯ อวฺหายนํ ปกฺโกสนํ (อวฺหายนะ คือ การร้องเรียก) ฯ พทฺธาติ อหงฺกาโร ฆฎฺฎนํ วา สารมฺภกรณํ วา (บทว่า พทฺธา คือเบ่งว่าตัวกู, หรือ การกระทบกระทั่ง, หรือ กระทำการแข่งดี) ฯ สทฺโท รโว (สัททะ คือเสียง, การออกเสียง)ฯ

คมยนฺโต  (ไปอยู่, ไปหา) คมยนฺต+สิ, (มาจาก √คมุ+ณย+อนฺต จุราทิ กัตตุวาจก. มี อา อุปสัคเป็นบทหน้า แปลว่า รอคอยอยู่, ยังกาลให้ผ่านไปหน่อยหนึ่ง มีรูปเป็น อาคมยนฺโต เป็นต้น.

อปุจฺฉา  (ไม่ถูกถาม) น+ปุจฺฉา > อปุจฺฉา (ศัพท์นี้ยังมองไม่ออกว่าควรทำตัวสำเร็จรูปอย่างไรดี ขอฝากไว้ก่อน)

พหุภาสโก  (คนพูดมาก) พหุ (มาก, หลาย) +ภาสก (คนพูด,​ ผู้กล่าว) > พหุภาสก+สิ

อตฺตคฺคุณํ  (คุณของตน) อตฺต (ตน,​ ตัวเอง) +คุณ (คุณ, ความดี) > อตฺตคฺคุณ+อํ

ปสํสนฺติ  (ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย) ป+√สํส+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ติวิธํ  (๓ อย่าง, ๓ ประเภท) ติวิธ+สิ

หีนลกฺขณํ  ลักษณะคนเลว, -คนต่ำช้า, หีนบุคคล) หีน (เลว, ต่ำ​ช้า, ถ่อย) +ลกฺขณ (ลักษณะ, เครื่องหมาย, ที่ให้จดจำ) หีนลกฺขณ+สิ

ส่วนใน กวิทัปปณนีติ คาถา ๙๒ มีเพียงบาทคาถาสุดที่แตกต่างกัน ดังนี้

อนวฺหายํ  คมยนฺโต,   อปุจฺฉา  พหุภาสโก;

อตฺตคุณํ  ปกาสนฺโต,   ติวิโธ  หีนปุคฺคโล.

เขาไม่เชื้อเชิญ ก็เข้าไปหา,  เขาไม่เอ่ยถามำ ก็พูดพล่าม,

ชอบประกาศคุณของตนเอง,  สามอย่างนี้ เรียกว่า คนถ่อย.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ไม่เชื้อเชิญก็เข้าไปหา  ไม่ทันออกวาจาถามก็พูดมาก

ยกย่องคุณของตน  สามนี้เป็นลักษณะของคนเลว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เขาไม่เชื้อเชิญเข้าไปหา  ไม่ทันออกปากถามก็พูดมาก

ยกตัวเองอวดเขา  สามอย่างนี้ก็เป็นลักษณะของคนเลว.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566

ลักษณะคนโง่

ลักษณะคนโง่

นิทฺธโนปิจ   กาเมติ,   ทุพฺพโล   เวริกํกโร;
มนฺทสตฺโถ   วิวาทตฺถี,   ติวิธํ   มุฬฺหลกฺขณํ.

คนไร้ทรัพย์ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  คนแรงน้อย ชอบก่อเรื่องสร้างศัตรู
คนรู้น้อย ชอบโต้เถียงโต้คารม  ทั้งสามนี้ เป็นลักษณะของโง่เขลา.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๕, มหารหนีติ ๑๒๑)

ศัพท์น่ารู้ :

นิทฺธโนปิจ  ตัดบทเป็น นิทฺธโน(ไม่มีทรัพย์, ไร้ทรัพย์)+อปิจ (เออก็, แม้อนึ่ง)

กาเมติ  (ปรารถนา, ต้องการ) √กมุ+เณ+ติ จุราทิคณะ, กัตตุวาจก

ทุพฺพโล (คนไม่มีกำลัง, แรงน้อย, ทุรพล) ทุ (ชั่ว, น้อย, ไม่มี) +พล (กำลัง, พลัง > ทุพฺพล+สิ

เวริกํกโร (ทำเวร, การต่อสู้, สร้างศัตรู) เวริก+กร > เวริกํกร+สิ

มนฺทสตฺโถ (มีตำราหย่อน, อ่อนความรู้, มีความรู้น้อย) มนฺท (อ่อน, หย่อน) + สตฺถ (ตำรา, ศาสตร์) > มนฺทสตฺถ+สิ

วิวาทตฺถี (มีความต้องการวิวาท, ชอบทะเลาะ, ชอบโต้คารม) วิวาท (การทะเลาะ, การวิวาท, โต้เถียง)+อตฺถี (มีความต้องการ) > วิวาทตฺถี+สิ

ติวิธํ (สามอย่าง, สามประการ, อย่างสาม, สามวิธี) ติ (สาม)+วิธ (วิธี, อย่าง) > ติวิธ+สิ

มุฬฺหลกฺขณํ (ลักษณะของคนหลง, -คนเขลา) มุฬฺห (หลง, โง่) + ลกฺขณ (ลักษณะ, เครื่องหมาย) > มุฬฺหลกฺขณ+สิ

ในมหารหนีติ คาถา ๑๒๑ มีบางศัพท์ที่ต่างกันนิดหน่อย ดังนี้

นิธโน  จาปิ  กาเมติ,   ทุพฺพโล  กลหํปิโย;

มนฺทสตฺโถ  วิวาทตฺถิ,   ติวิธํ  มุฬฺหลกฺขณํฯ

คนไร้ทรัพย์ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  คนแรงน้อย ชอบหาเรื่องทะเลาะ

คนรู้น้อย ชอบโต้เถียงโต้คารม  ทั้งสามนี้ เป็นลักษณะของโง่เขลา.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เออก็คนที่ไร้ทรัพย์กลับใฝ่ในกาม  คนหย่อนกำลังกลับทำเวร

ทั้งคนมีความรู้หลักน้อยกลับชอบตีโวหาร  สามนี้เป็นลักษณะของคนเลว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เออก็ ! คนที่จนทรัพย์กลับใฝ่กาม  คนไม่มีกำลังกลับสร้างเวร

คนรู้น้อยชอบตีโวหาร  สามอย่างนี้ เป็นลักษณะของคนเลว.

_______