ลบรอยบาป
พาโลธ ปาปกํ กตฺวา, น ตํ ฉฎฺฎิตุมุสฺสเห;
กึ พฺยคฺฆอาทิ คจฺฉนฺโต, ปทํ มกฺเขตุมุสฺสเห.
คนพาลในโลกนี้ทำกรรมชั่วแล้ว พยายามจะลบบาปนั้น หาได้ไม่,
สัตว์มีเสือโคร่งเป็นต้น เมื่อเที่ยวไป มันอาจเพื่อจะลบรอยเท้าตนได้หรือ?.
(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๔, มหารหนีติ ๑๑๖)
ศัพท์น่ารู้ :
พาโลธ ตัดบทเป็น พาโล+อิธ, พาล+สิ = พาโล (คนพาล), อิธ = อิธ โลเก, อิมสฺมึ โลเก (ในโลกนี้). (ในมหารหนีติ เป็น พาโลว แปลว่า คนพาลนั่นเทียว)
ปาปกํ (ความชั่ว, กรรมชั่ว) ปาปก+อํ
กตฺวา (กระทำแล้ว) √กร+ตฺวา > กตฺวา+สิ ลบ สิ วิภัตติ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ตํ = ตํ ปาปกํ (ซึ่งบาปกรรมนั้น)
ฉฎฺฎิตุมุสฺสเห ตัดบทเป็น ฉฏฺฏิตุํ+อุสฺสเห
ฉฏฺฏิตุํ (เพื่ออันทิ้ง, เพื่ออันชัดไป) √ฉฏฺฏ+อิ+ตุํ > ฉฏฺฏิตุํ+ส ลบ ส วิภัตติ. (มหารหนีติ เป็น ฉฏฺเฏตุํ อนึ่ง ธาตุว่า ฉฑฺฑ ก็มีความหมายเหมือนกันแล)
อุสฺสเห (พึงพยายาม, อุตสาหะ) อุ+√สห+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
กึ (อะไร, อย่างไร) เป็นนิบาตในอรรถการถาม
พฺยคฺฆอาทิ (สัตว์มีเสือโคร่งเป็นต้น) พฺยคฺฆ+อาทิ > พฺยคฺฆอาทิ+สิ (มหารหนีติ เป็น พฺยคฺฆตาทิ)
คจฺฉนฺโต (ไปอยู่) √คมุ+อ+นฺต > คจฺฉนฺต+สิ กิริยากิตก์ ปัจจุบันกาล
ปทํ (รอย, ปท, บท, บาท) ปท+อํ
มกฺเขตุมุสฺสเห ตัดบทเป็น มกฺเขตุํ+อุสฺสเห, มกฺเขตุํ (เพื่ออันทา, เจิม, ถู, เช็ด) √มกฺข+อิ+ตุํ > มกฺเขตุํ+ส ลบ ส วิภัตติ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนพาลในโลกนี้ทำกรรมชั่วแล้ว อันจะพยายาม ละชั่วนั้นไม่มีเลย สัตว์เช่นเสือโคร่งวิ่งไปอยู่ ดั่ง ฤามันจะพยายามลบรอย.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
คนพาลในโลกนี้ ทำชั่วแล้ว การที่จะย่อมละชั่วนั้นไม่มีเลย สัตว์ป่าเช่นเสือโคร่งวิ่งไป ไฉนจะหันมาลบรอยเล่า.
_______
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร